แนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีเชิงพุทธล้านนา ของจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • กตัญญู เรือนตุ่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระมหาอังคาร ญาณเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ปุระวิชญ์ วันตา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ส่งเสริมอัตลักษณ์, วัฒนธรรม, ประเพณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของวัฒนธรรม ประเพณีล้านนา 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีล้านนาของจังหวัดลำปาง 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีเชิงพุทธล้านนาของจังหวัดลำปาง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ผลการวิจัยพบว่า

1)  ความเป็นมาและความสำคัญของวัฒนธรรม ได้แก่ ด้านภาษาพูด ภาษาเขียน ได้แก่ ìคำ  เมืองî หรือ ìล้านนาî อาหารการกิน การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย วิถีชีวิตเดิมเป็นแบบเรียบง่าย เมื่อนับถือพระพุทธศาสนา ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ได้พัฒนาขึ้นมา เป็นสังคมที่มีความเอื้อเฟื้อ อ่อนน้อม มีไมตรี 2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดลำปาง พบได้ในหลายประเพณี เช่น  ประเพณีแห่สลุงหลวง เป็นความร่วมมือของชุมชน, ประเพณีล่องสะเปา ถือเป็นต้นกำเนิดของการลอยกระทงล้านนา ประเพณีตี๋ก๋องปู่จา มีการจัดแข่งขันอย่างจริงจัง ประเพณียอคุณแม่น้ำวัง เพื่อบูชาและขอขมาแม่น้ำวังที่ให้ชีวิตและความสมบูรณ์ ซึ่งไม่เคยพบในท้องถิ่นใด 3) แนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีเชิงพุทธล้านนา จังหวัดลำปาง กำหนดไว้ 7 ด้าน ดังนี้ ด้านการจัดการและวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมของล้านนา,  ด้านการทำนุบำรุงและส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น,  ด้านการสืบทอดวัฒนธรรม, ด้านการพัฒนาวัฒนธรรม, ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ, ด้านการศึกษา, และด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แนวทางทั้ง 7 ด้านล้วนได้รับความเห็นชอบและความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน

References

กมลทิพย์ กาวิเต. (2559). รูปแบบและกระบวนการจัดงานสลุงหลวง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ศิลปมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ขวัญนภา สุขคร. (2557). ประเพณี อารยธรรมล้านนา คุณค่าศรัทธาและความเชื่อ.โครงการส่งเสริมและปรับแต่งอัตลักษณ์ (Identity) เพื่อสร้างเสน่ห์การท่องเที่ยว การค้าและการลงทุน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กิจกรรม ตามรอยอารยธรรมล้านนา. ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พระครูปลัดพิศิษฐ์ เมตฺตจิตโต (พลชานวพงศ์). (2554). วิเคราะห์ประเพณีจุลกฐินของชาวพุทธล้านนา: กรณีศึกษาวัดอนาลโยทิพยาราม อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพรินทร์ ณ วันนา. (2559). ศึกษาวิเคราะห์ คุณค่าและความสำคัญของสลากย้อมที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม ลำพูน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณี พยอมยงค์. (2533). วัฒนธรรมล้านนาไทย. พระนคร: สำนักวัฒนธรรมแห่งชาติ.

มณี พยอมยงค์. (2547). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม. เชียงใหม่ : ทรัพย์การพิมพ์.

ศรีเลา เกษพรหม. (2539). ประเพณีชีวิตคนเมือง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง. (16 พฤษภาคม 2560). โครงการมรดกโลกล้านนา. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561, https://www.m-culture.go.th/lampang/ewt_news.php?nid=990& filename-index>.

หอประวัติศาสตร์นครลำปาง. (29 กันยายน 2558). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561, https://www.lampang.go.th/history

อนุกุล ศิริพันธุ์. (2559). ประเพณีสิบสองเดือนนครลำปาง. เชียงใหม่: สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27