กระบวนการสร้างนิสิตต้นแบบตามนวลักษณ์นิสิตของมหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • อนันต์ อุปสอด มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

นิสิตต้นแบบ, นวลักษณ์นิสิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้กับบทบาทและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการนำความรู้ของนิสิตต้นแบบในการตอบสนองคณะสงฆ์และชุมชน 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการสร้างนิสิตต้นแบบตามนวลักษณ์นิสิตของมหาวิทยาลัย   โดยการการใช้เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการสังเกตการณ์ (Observation Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)   เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบนิสิตต้นแบบตามนวลักษณ์นิสิตของมหาวิทยาลัย

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นความสำคัญกับการแสดงบทบาทและหน้าที่พระสังฆาธิการตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  และการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับศาสตร์สมัยใหม่ เช่น การทำกาดมั่วคัวแลงเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน การส่งเสริมการศึกษา การสร้างภาวะผู้นำ การทำนุบำรุงศาสนสมบัติตามภูมิปัญญาท้องถิ่นฟื้นฟู อนุรักษ์ศาสนสถานที่เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น   โดยมีการปรึกษาหารือร่วมกับชุมชน เพื่อหาแนวทางพัฒนาชุมชนจากการนำความรู้ไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม การสร้างรายได้ชุมชนและความสามัคคี   ดังนั้น กระบวนการสร้างนิสิตต้นแบบตามนวลักษณ์นิสิตของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย 1) ภูมิรู้และภูมิธรรม 2) การปฏิบัติตนตามหลักนวลักษณ์ 3) การบูรณาการวิชาความรู้ที่สอดคล้องกับหลักพันธกิจ เช่น การอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น และ 4) บทบาทและหน้าที่ของนิสิตที่สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์

การสร้างนิสิตต้นแบบตามนวลักษณ์นิสิต เป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนิสิต สร้างอัตลักษณ์นิสิตอันพึงประสงค์ที่มีความโดดเด่นทั้งความรู้ทางโลกและทางธรรม เป็นการเชิดชูเกียรติและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยต่อไป

References

ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์. (2548). ประมวลสาระชุดวิชาการประยุกต์นิเทศศาสตร์เพื่อการพัฒนา เล่มที่ 1. นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศาสตร์ มหาวิทยาลยัสุโขทยัธรรมาธิราช.

บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2549). การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: จิรวัฒน์เอ็กเพรส.

พระครูวรดิตถ์วิมล. (2561). เจ้าอาวาสวัดท่าวิมล ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์. 7 กรกฎาคม.

พระครูสุตชยาภรณ์. (2561). อาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าอาวาสวัดศรีชุม ตำบลสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์. 7 กรกฎาคม.

พระครูสุวรรณทัศนสุนทร. (2561). เจ้าคณะตำบลล้อมแรดเขต 2 เจ้าอาวาสวัดอุมลอง ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์. 7 กรกฎาคม

พระพิษณุพล สุวณฺณรูโป. (2561). อาจารย์ประจำวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง เจ้าอาวาสวัดป่าฝาง ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์. 7 กรกฎาคม

พระมหากีรติ วรกิตฺติ. (2561). อาจารย์ประจำวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง วัดดอกบัว ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์. 7 กรกฎาคม

ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร และคณะ. (2559). กระบวนการประชาสังคม “บวร” หลักในการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน. การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ ครั้งที่ 3.

ศศิรัศมิ์ เสือเมือง และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 2 (1), 33.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). กิจกรรมนักศึกษากับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-19