การสอนภาษาอังกฤษ เรื่อง “อดีตกาล ( Past Tenses )” โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้
คำสำคัญ:
ภาษาอังกฤษ, อดีตกาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ศูนย์การเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแก้ปัญหาความไม่น่าสนใจในการเรียนกาล (Tenses) โดยเฉพาะอดีตกาล ( Past Tenses ) และเพื่อให้เกิดความเข้าใจการใช้อดีตกาลง่ายขึ้น แก่พระนิสิตชั้นปีที่1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
การศึกษาวิจัยนี้ใช้การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental study ) ผู้วิจัยได้จัดแบ่งพระนิสิตออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 28 รูป และกลุ่มทดลอง 28 รูป โดยกลุ่มควบคุมจะได้รับการสอนแบบปกติ ส่วนกลุ่มทดลองจะได้เข้าร่วมกิจกรรมศูนย์การเรียนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
การศึกษาวิจัยนี้ใช้การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental study ) ผู้วิจัยได้จัดแบ่งพระนิสิตออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 28 รูป และกลุ่มทดลอง 28 รูป โดยกลุ่มควบคุมจะได้รับการสอนแบบปกติ ส่วนกลุ่มทดลองจะได้เข้าร่วมกิจกรรมศูนย์การเรียนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนและหลังการเรียน โดยการใช้ศูนย์การเรียนรู้และการเรียนตามปกติในชั้นเรียนของพระนิสิต โดยการวิเคราะห์
dependent sample t-test มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ส่วนการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนและหลังการเรียน โดยการใช้ศูนย์การเรียนรู้กับการเรียนตามปกติในชั้นเรียนของพระนิสิต โดยการวิเคราะห์ Independent sample t-test ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p = .188 นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบอีกว่า พระนิสิตมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ คือรู้สึกชอบ ระดับมากที่สุด ร้อยละ 54.5 และมีความรู้สึกชอบมาก รองลงมา ร้อยละ 31.8 และเมื่อเปรียบเทียบทั้ง 4 ศูนย์ พระนิสิตชอบศูนย์การอ่านมากที่สุด ร้อยละ 63 รองลงมา ศูนย์การพูดร้อยละ 45.5 ซึ่งอาจสรุปได้ว่า วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนสามารถพัฒนาให้ พระนิสิตมีการเรียนรู้เรื่อง อดีตกาล ( Past Tenses ) ดีขึ้นทัดเทียมกับการสอนของครูในชั้นเรียนตามปกติ และสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข
References
สนิท สัตโยภาส. (2544). กระบวนการเรียนรู้ชูผู้เรียนเป็นสำคัญ. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
Anderson, R.C. ( 1985 ) . Role of The Reader’s Schema in Comprehension Learning and Memory: Theoretical Models and Process of Reading International Reading Association.
Alright, R. ( 1991 ). The Death of the Method. Lanccaster: Centre for Rsearch in Language Education – working paper.
Ellis, R. ( 1994 ). The Study of Second Language Acquisition. St Edmundbury PressLtd.Suffolk.
Janet M. Bing. ( 1989 ). Grammar Guide English Grammar in context. Prentice-Hall.
Lawrence, Mary S. ( 1995 ). Reading, Thinking, Writing: A text for student of English as a second language, and teacher’s manual. Ann Arbor, Michigan: Univ.of Michigan Press.
Little, D. ( 1994 ). Autonomy in Language Learning: Some Theoretical and Practical Consideration. In swarbrick, A. Ced. Teaching Modern Language. Routedge, New York.
Nunan, D. ( 1998 ). Principle of Communicative Task Design. In Bikram K Das ( ed ). Materials for language learning and teaching. Seameo Regional language centre.
Raymond Murphy. ( 1994 ). Intermediate English Grammar. Cam bridge University press.
Sysoyer, Pavel V. ( 1999 ). Integration LZ grammar teaching : exploration, explanation and expression. The internet TESL journal, 11(5).Tudor.
l. ( 1996 ). Learner. Centreness as Language Education. Cambridge Cambridge University Press.
Valette, R.M. & Disick, R.S. ( 1972 ). Modern Language Performance Objective and Individualization. New York: Harcourt Brace Javanovich.