ศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติกรรมฐาน ตามแนวอานาปานสติของพุทธทาสภิกขุ กับ เอส. เอน. โกเอ็นก้า

ผู้แต่ง

  • พวน โฆษิตศักดิ์

คำสำคัญ:

ศึกษาเปรียบเทียบ, อานาปานสติ

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “ศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติกรรมฐาน ตามแนวอานาปานสติของพุทธทาสภิกขุ กับ เอส. เอน. โกเอ็นก้า” มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวอานาปานสติในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาอานาปานสติตามแนวคำสอนของพุทธทาสภิกขุ3) เพื่อศึกษาอานาปานสติตามแนวคำสอนของ เอส. เอน. โกเอ็นก้าและ 4) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคำสอนและวิธีการปฏิบัติอานาปานสติของ พุทธทาสภิกขุ กับ เอส. เอน. โกเอ็นก้า
ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติกรรมฐานตามแนวอานาปานสติในพุทธศาสนาเถรวาท มีปรากฎในหลายๆแห่งด้วยกัน ตามแต่เหตุการณ์ สถานที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง อานาปานสติภาวนา เป็นการเจริญอนุสสติกัมมัฏฐานประเภทหนึ่งที่ใช้สติปรารภลมหายใจเข้าออก พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนอานาปานสติสูตร มีทั้งหมด 16ขั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงอานิสงส์ของอานาปานสติไว้ว่า อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ย่อมทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
ผลการวิจัยพบว่า พุทธทาสมองว่า ความทุกข์ล้วนเกิดมาจากความยึดมั่นถือมั่น และความอยาก ความต้องการที่ไม่มีวันสื้นสุดของมนุษย์ จึงต้องดิ้นรน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งต่างๆ แต่ก็มีวิธีที่จะหยุดความอยากได้ด้วยการปฏิบัติกรรมฐาน และพุทธทาสได้นำเสนอการปฏิบัติกรรมฐานโดยใช้ลมหายใจเป็นอุปกรณ์สำคัญ มีชื่อเรียกว่า อานาปานสติ พุทธทาสได้นำเสนอหลักการทำอานาปานสติ 16 ขั้น ตรงตาม อานาปานสติสูตร ในพระไตรปิฏกมาขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจได้ง่านขึ้น พุทธทาสได้กล่าวว่าอานาปานสติเป็นระบบปฏิบัติที่เป็นไปตามลำดับ ตั้งแต่ขั้นหยาบ จนไปถึงขั้นละเอียดสูงสุด หรือตั้งแต่ความเป็นปุถุชนจนถึงความเป็นพระอรหันต์บรรลุพระนิพพาน.
ผลจากการวิจัยยังพบว่า เอส.เอน. โกเอ็นก้า มองว่าการที่เรามีความทุกข์เป็นเพราะเรามีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง จึงสั่งสมความเครียดเข้าสู่จิตใต้สำนึกฝังลึกจนกลายเป็นอนุสัยที่นอนเนื่องอยู่ใต้จิตสำนึก การจะกำจัดอนุสัย สามารถทำได้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เริ่มการปฏิบัติด้วยการ ทำอานาปานสติภาวนา เพื่อให้จิตเกิดความสงบเป็นพื้นฐาน เมื่อจิตใจสงบดีแล้ว ก็ให้นำจิตที่พัฒนาดีแล้วมาพิจารณาเวทนาที่เกิดขึ้นจากนั่งปฏิบัติเป็นเวลานานๆ ให้มองเห็นทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นด้วยความเป็นอุเบกขา ให้สังเกตุด้วยความเป็นกลาง ไม่เข้าไปปรุงแต่งใดๆ ให้เวทนาที่เกิดขึ้นเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์ และก็จะดับไปเองตามธรรมชาติ เราก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ในที่สุด.
ผลจากการศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติกรรมฐานแบบ อานาปานสติตามแนวคำสอนของพุทธทาสภิกขุ กับ เอส.เอน. โกเอ็นก้า พบว่า แนวทางการปฏิบัติของทั้งสองท่าน มีทั้งที่แตกต่างกันกล่าวคือ การอธิบายเรื่องการดับทุกข์ต่างกัน พุทธทาส มองว่าต้องดับความยึดมั่นถือมั่นจึงจะดับทุกข์ได้ ส่วน เอส.เอน. โกเอ็นก้า มองว่า ต้องเดินสายกลาง ละเว้นความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตให้บริสุทธิ์, รูปแบบการปฏิบัติต่างกัน พุทธทาส เสนอว่า เราต้องทำงานด้วยจิตว่างในชีวิตประจำวัน และต้องเจริญสติปัฏฐาน ด้วยการทำอานาปานสติ 16 ขั้น เป็นประจำ และเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิตก็ให้เลิกยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงก่อนตาย ส่วนรูปแบบการปฏิบัติของ เอส.เอน. โกเอ็นก้า นั้น ยึดการปฏิบัติที่เป็นทางสายกลางเป็นหลัก คือ อริยมรรคมีองค์แปด คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา เมื่อเห็นทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง ก็จะทำให้มองเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริง และสามารถปฏิบัติต่อทุกสิ่งด้วยความเป็นอุเบกขา จึงไม่ทุกข์อีกต่อไป ในส่วนที่ทั้งสองท่านมีความเห็นสอดคล้องกันนั้น ทั้งสองท่าน อธิบายเรื่องทุกข์สอดคล้องกัน เห็นว่า เป็นความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ไม่อยากให้เกิดขึ้น มีกระบวนการเกิดทุกข์คือความยึดมั่นถือมั่นในตัวในตน จึงเกิดกิเลสตัณหาความอยาก ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งสองท่านใช้สติเป็นบาทฐานในการปฏิบัติสอดคล้องกัน กล่าวคือ ใช้สติปัฏฐาน ในการปฏิบัติกรรมฐานเช่นเดียวกัน และมีเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ ความพ้นทุกข์ บรรลุถึง มรรคผลนิพพาน เป็นที่สุดของการปฏิบัติวิปัสนนากรรมฐานเหมือนกัน.

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ.1 กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (2537). ธรรมบรรยาย (แปลและเรียบเรียงจากธรรมบรรยาย หลักสูตร 10วัน). กรุงเทพมหานคร: ที.พี.พริ้นท์.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (2527). การปฏิบัติกรรมฐาน. กรุงเทพมหานคร: เทพอักษรการพิมพ์.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (2530). ชุมนุมปาฐกถาชุดพุทธธรรม. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (2533). อานาปานสติภาวนา. พิมพ์ครั้งที่ 10. สุราษฎร์ธานี: ธรรม ทานมูลนิธิ.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (2536). วิธีฝึกสมาธิวิปัสสนา ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: รุ่งแสงการพิมพ์.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (2540). ธรรมานุกรมธรรมโฆษณ์ ฉบับประมวลธรรม 1. รวบรวม เรียบเรียงโดย พินิจ รักทองหล่อ.กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (2544). แนวการปฏิบัติธรรมในสวนโมกข์. กรุงเทพมหานค: ธรรมสภา.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (2551). มหาสติปัฏฐานสูตรแปล. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (ม.ป.ป. ). ธรรมบรรยาย (หลักสูตร 3 วัน). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (ม.ป.ป.) ปฏิจจสมุปบาทกับอานาปานสติ. กรุงเทพมหานคร: อตัมมโย.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. ประมวลธรรมท่านพุทธทาสและแถลงการณ์ 50 ปี สวนโมกข์. รวบรวมโดยพระดุษฎี เมธงฺกุโร. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่ความหลุดพ้น. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิส่ง เสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์, 2546.

พุทธทาส อินฺทปญฺโญ. (2535). อานาปานสติ สมบูรณ์แบบ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-19