ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการ ในการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ฐิติรัตน์ วสิษฐ์พลพงศ์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้อย่างมีความสุข, ความสุขเชิงพุทธบูรณาการ

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นบทความจากงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดและหลักการสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความสุข สอดคล้องตรงกับหลักสิกขา 3 ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ และหลักภาวนา 4 หมายถึง การพัฒนา ซึ่งหลักการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา 3 และหลักภาวนา 4 นั้น เป็นกระบวนการเดียวกัน สามารถสังเคราะห์เข้าด้วยกันได้ เป็นกายภาวนา และสีลภาวนา จัดเข้าในอธิสีลสิกขา ส่วนจิตภาวนาจัดเข้าในอธิจิตสิกขา และปัญญาภาวนา จัดเข้าในอธิปัญญาสิกขา

 จากผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการ มีกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการ  3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขตามหลักอิทธิบาท 4 รูปแบบที่ 2 กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขตามหลักวุฑฒิธรรม 4 และรูปแบบที่ 3 กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขตามหลักอริยสัจจ์ 4 กระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ เมื่อศึกษาสังเคราะห์และประยุกต์เข้ากับการพัฒนาผู้เรียน ทำให้ได้กระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ปลุกใจใฝ่รู้ ขั้นที่ 2 เพียรรู้บากบั่น ขั้นที่ 3 ตั้งมั่นใส่ใจ ขั้นที่ 4 ใช้ดุลยพินิจแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขั้นที่ 5 เน้นลงมือปฏิบัติ และขั้นที่ 6 วัดผลประเมินงาน

ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการที่ใช้กับนักเรียนกลุ่มทดลอง พบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และจากผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของกลุ่มทดลองหลังเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนของกลุ่มทดลองหลังเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากผลการจัดกิจกรรมนอกชั้นเรียนในชื่อว่า ìโครงการหอมคุณธรรม วิถีพุทธ วิถีพอเพียง วิถีเวียงสวนดอกî ได้นำไปสู่การจัดส่งผลงานเข้าร่วมประกวดโครงงานคุณธรรม ป.4 - ป.6 ของกระทรวงศึกษาธิการ

จากผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนกับหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการของกลุ่มทดลอง พบว่า นักเรียนมีคะแนนสอบครั้งสุดท้ายสูงกว่าครั้งแรก หลังการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการของกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2550). คู่มือชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: เนื่องในมงคลวาร ครบรอบอายุ 80 ปี คุณจริยา ไชยันต์ ณ อยุธยา.

พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม, ผศ.ดร. และคณะ. (2554). การพัฒนารูป แบบการเรียนรู้อย่างมี ความสุขเชิงพุทธ. สำนักบริหารโครงการวิจัยอุดมศึกษา และ พัฒนามหาวิทยาลัย แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539) พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วราศิริ วงศ์สุนทร. (2545). การเรียนอย่างมีความสุข : การวิจัยรายกรณี ครูต้นแบบด้านการเรียนการสอน วิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : มติชน.

สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2536). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน: ทฤษฎีการ เรียนรู้อย่างมีความสุข ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านหลัก ทฤษฎีและ แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ไอเดียสแควร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Lall, G.R. and Lall. B.M.. (1983). Ways children learn. Illinois: Charles C. Thomas Publishers.

Phelan, R. J.. (1999). The relationship between student and teacher perceptions of the organization Climate of their school. Dissertation Abstracts International.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-08-15