การศึกษาวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์เรื่องการยุติการตั้งครรภ์ ตามหลังการวินิจฉัยก่อนคลอด

ผู้แต่ง

  • สุทธิรักษ์ นภาพันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง ìการศึกษาวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์เรื่องการยุติการตั้งครรภ์ตามหลังการวินิจฉัยก่อนคลอดî มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาการยุติการตั้งครรภ์ตามหลังการวินิจฉัยก่อนคลอด 2.เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเชิงจริยศาสตร์กรณียุติการตั้งครรภ์ตามหลังการวินิจฉัยก่อนคลอดโดยใช้ทฤษฎีจริยศาสตร์แนวประโยชน์นิยม และทฤษฎีกรณียธรรม

ผลการศึกษา พบว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดเป็นการวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมหรือความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ และมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นโรคโดยเลือกยุติการตั้งครรภ์ การยุติการตั้งครรภ์ตามหลังการวินิจฉัยก่อนคลอดทำให้เกิดปัญหาเชิงจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยทางสูติศาสตร์ ประเด็นทางจริยธรรมที่สูติแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขประสบอยู่เป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างสถานะทางจริยธรรมของทารกและการเคารพการตัดสินใจของมารดา

ทฤษฎีประโยชน์นิยมเห็นว่าการกระทำที่ดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นสิ่งที่นำความสุขมากที่สุดและเจ็บปวดน้อยที่สุด พวกเขายอมรับการยุติการตั้งครรภ์ว่าเป็นสิ่งควรกระทำในกรณีที่การตั้งครรภ์นั้นก่อให้เกิดอันตรายทั้งด้านร่างกายและจิตใจในสตรีตั้งครรภ์ หรือทารกที่มีความผิดปกติคลอดออกมาทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง

ตามทฤษฎีจริยศาสตร์กรณียธรรม  คานท์เห็นว่า การยุติการตั้งครรภ์ไม่ถูกต้องในทุกสถานการณ์ เพราะเขาเชื่อว่าชีวิตมนุษย์มีค่าอนันต์และควรจะได้รับความคุ้มครอง หนึ่งในกฎสากลคือ ìไม่ทำลายชีวิตî การยุติการตั้งครรภ์จะเป็นการกระทำที่ผิดกฎสากลและเป็นการทำลายชีวิตที่มีคุณค่า

References

เยื้อน ตันนิรันดร. (2551). เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยา ลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.

ธีระ ทองสง บรรณาธิการ. (2555). สูติศาสตร์. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ลักษมีรุ่งจำกัด.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2535). จริยศาสตร์เบื้องต้น มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

สุขิต เผ่าสวัสดิ์ บรรณาธิการ. (2543). จริยธรรมในเวชปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อุ่นใจ กออนันตกุล. (2549). การตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

DiGiovanni Laura M.. (2010). Ethical Issues in Obstetrics. Obstetrics & Gynecol ogy clinics of North America.

Immanuel Kant. (1900). Fundamental Principles of the Metaphysics of Ethics. Tr by T.K. Abbott. 2ndedition. London: Longmans, Green and Co.

J.S. Mill. Utilitarianism. (1864). Endedition. London: Longman. Green. Long man. Roberts and Green.

Ring-Cassidy Elizabeth and Gentles Ian. (2003). Women’s health after abortion: the medical and psychological evidence. 2ndedition. Toronto: The Deveber Institute for Bioethics and Social Research.

Wertz D.C., Fletcher J.C., Berg K. (2003). Review of Ethical issues in Medical Genetics. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-15