การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการสอบสวนวินัย พระสังฆาธิการกับวินัยตำรวจ
คำสำคัญ:
สอบสวน, วินัย, พระสังฆาธิการ, ตำรวจบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะศึกษาดังนี้ 1. วิธีการสอบสวนวินัยพระ-สังฆาธิการ 2. วิธีการสอบสวนวินัยตำรวจ 3. เปรียบเทียบวิธีการสอบสวนวินัยพระสังฆาธิการ กับ วิธีการสอบสวนวินัยตำรวจวินัยเป็นกฎกติกาของสังคมเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ส่วนวินัยพระพุทธศาสนานั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (1) อนาคาริยวินัย คือ วินัยของบรรพชิต ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ เป็นผู้ปฎิบัติโดยยึดถือพระวินัยปิฎก เป็นหลักในการควบคุมประพฤติและปฏิบัติหน้าที่ (2) อาคาริยวินัย ได้แก่ วินัยคฤหัสถ์เป็นผู้ปฎิบัติ คือ การงดเว้นจากอกุศลกรรมต่างๆ โดยยึดถือจารีตประเพณี กฎหมายระเบียบ เป็นหลักในการควบคุมความประพฤติและปฏิบัติหน้าที่วิธีการสอบสวนวินัยพระสังฆาธิการ คือ การลงโทษวินัยทางปกครองของคณะสงฆ์มีอำนาจสอบสวนตามลำดับชั้น โดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และ ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอกถอนพระสังฆาธิการ มีโทษวินัยหรือจริยา 2 ประเภท (1) วินัยอย่างร้ายแรง (2)วินัยไม่ร้ายแรง มี 4 สถาน (1) ถอดถอนออกจาหน้าที่ (2) ปลดออกจากหน้าที่ (3) ตำหนิโทษ (4) ภาคทัณฑ์โทษทางนิคหกรรม มีโทษ 2 ประเภท (1) ให้สึก (2) ไม่ให้สึก วิธีการสอบสวนวินัยตำรวจ คือ การลงโทษตำรวจทุกระดับ ชั้น ยศ มีวินัย 2 ประเภท (1) วินัยอย่างร้ายแรง (2) วินัยไม่ร้ายแรง อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติมใหม่ พ.ศ.2554) มี 7 สถาน (1) ไล่ออก (2)ปลดออก (3) ตัดเงินเดือน (4) กักขัง (5) กักยาม (6) ภาคทัณฑ์ (7) ทัณฑ์กรรม และกฎคณะกรรมการข้าราชการตำรวจว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ.2547
เมื่อนำมาเปรียบเทียบวิธีการสอบสวนวินัยพระสังฆาธิการกับวิธีการสอบสวนวินัยตำรวจ ผู้วิจัย พบว่ามีหลักการที่สำคัญ ซึ่งมีความแตกต่างกัน มี 8 ประการ ดังนี้ (1) การเป็นเจ้าพนักงาน (2) ประเภทวินัย (3) วิธีการลงนิคหกรรมกับการสอบสวน (4) การพิจารณาอธิกรณ์กับการสอบสวน (5) ระยะเวลาการลงนิคหกรรมกับการสอบสวน (6) การอ้างพยานหลักฐาน (7) การมีสิทธิของ ผู้ถูกกล่าวหา (8) การลงโทษทางวินัย ซึ่งรายละเอียดเป็นเรื่องที่น่าศึกษาต่อไป
References
กรมตำรวจ. (2505). คู่มือปฏิบัติราชการเกี่ยวกับตำรวจภูธรจังหวัด. กรุงเทพมหานคร : ฝ่ายอำนวยการกรมตำรวจ.
ณัฐพันธ์ เขจรพันธ์. (2542). การจัดการทรัพยากรบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ณัฐพันธ์ เขจรพันธ์. (2547). กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา.
ณัฐพันธ์ เขจรพันธ์. (2541). กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24. ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอน พระสังฆาธิการ.
ณัฐพันธ์ เขจรพันธ์. (2521). กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11. ว่าด้วยการลงนิคหกรรม พร้อมด้วยคำแนะนำ และแบบสำหรับใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม.
ณัฐพันธ์ เขจรพันธ์. (2552). หนังสือคู่มือพระสังฆาธิการ ว่าด้วย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่ง ของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา.