การสำรวจวิเคราะห์ความคิดเห็นการบริหารงานบุคคลใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระครูประวิตรวรานุยุต ผศ.ดร.

คำสำคัญ:

การสำรวจ, บริหารงานบุคคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารบุคคล 3 ด้าน คือ การสรรหาละการคัดเลือก การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการทำงานเพื่อพิจารณาความดีความชอบของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่และวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายบริหารและอาจารย์/เจ้าหน้าที่ และการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลทั้ง 3 ด้าน  ดำเนินการรวบรวมโดยการแจกแบบสอบแก่บุคลากรจำนวน 51 ชุด แบ่งเป็นผู้บริหาร 20 ชุด และอาจารย์/เจ้าหน้าจำนวน 31 ชุด แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจงนับความถี่ ค่าร้อยละ และการบรรยายวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคล

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายอาจารย์/เจ้าหน้าที่ พบว่ามีความคิดเห็นแยกออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ประเด็นความเห็นแย้งกันเนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีทัศนคติและมุมมองที่แตกต่างกัน 2) ประเด็นความเห็นสอดคล้องกัน และ 3) ประเด็นความเห็นเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งสามารถสรุปประเด็นปัญหาได้ 3 ปัญหาหลักๆ ดังนี้

1) ปัญหาการสรรหาและการคัดเลือก เช่น นโยบายและเป้าหมายในการวางแผนกำลังคนไม่ชัดเจน ผู้บริหารขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การใช้ระบบอุปถัมภ์  คุณสมบัติของบุคลากรไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ การประชาสัมพันธ์เพื่อการสรรหาจำกัดตัวในวงแคบ การทดสอบความรู้ในการคัดเลือกไม่ได้มาตรฐาน การพิจารณาเลื่อนขั้นไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน การทดลองปฏิบัติงานไม่เป็นระบบ เป็นต้น

2) ปัญหาการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร เช่น กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรยังไม่เพียงพอ ไม่มีการสำรวจความคิดเห็นบุคลากรก่อนการฝึกอบรม ช่วงเวลาในการฝึกอบรมไม่เหมาะสม ไม่ทราบผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรม การเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมมีน้อย เป็นต้น

3) ปัญหาการประเมินผลการทำงาน เช่น แบบประเมินผลระบุข้อมูลและวัตถุประสงค์ไม่ครอบคลุมลักษณะงาน และการประเมินผลไม่มีความเป็นกลาง การลงโทษบุคลากรที่ทำผิดวินัยไม่มีความเด็ดขาด เป็นต้น

ปัญหาเหล่านี้สำรวจจากความคิดเห็นของบุคลากรในช่วงเวลาหนึ่ง ภายหลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานบุคคลในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารใหม่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.2540  และภายใต้ลักษณะการบริหารงานในสถาบันการศึกษาของพระสงฆ์ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ เช่น ความไม่เท่าเทียมกันของสถานภาพบุคคลระหว่างพระสงฆ์และคฤหัสถ์ เป็นต้น

แนวทางในการแก้ปัญหาได้ทำการศึกษาความคิดเห็นจากบุคลากรทั้งสองฝ่าย สรุปสาระสำคัญได้ว่า ปัญหาการบริหารงานบุคคลส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้นควรผสานความเข้าใจร่วมกัน   และในประเด็นปัญหาที่เห็นสอดคล้องกันควรประสานความร่วมมือ เพื่อนำข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การสนับสนุนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างเต็มที่ และการประเมินความดีความชอบอย่างยุติธรรม ซึ่งในการวางแผนดำเนินการใดๆ ก็ตามที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรต้องดำเนินการอย่างมีระบบ มีการตัดสินใจร่วมกัน จะทำให้การดำเนินการนั้นๆ ได้รับความร่วมมือและประสบผลสำเร็จด้วยดี.

References

กองแผนงาน,สำนักงานอธิการบดี. (2541). ข้อมูลพื้นฐานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย ประจำปีพุทธศักราช. คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.

การบริหารงานบุคคล และกิจการนักเรียน. วารสารชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่ม 5. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญการพิมพ์.

คำพันธ์ อัครเนตร. (2533). การบริหารงานบุคลากรในสำนักงานการปประถมศึกษา จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. จำเนียร จวงตระกูล. (2536). ภาครวมทิศทางการบริหารบุคคลปี 2536. วารสารบริหารงาน.

ธงชัย สันติวงษ์. (2539). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

นคร คำวิตา. (2529). การวิเคราะห์การบริหารงานบุคคลของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน. จังหวัดในเขต ภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์. มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พะยอม วงค์สารศรี. (2530). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: พรานนกการพิมพ์.

เมธี ปิลันธนานันท์. (2529). การบริหารงานบุคคลในวงการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2526). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: เกษมสุวรรณ.

สมาน รังสิโยกฤษณ์. (2528). ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากร. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน.

สมบูรณ์ ธรรมลังกา. 2541). การบริหารงานบุคลากรโรงเรียนเอกชนในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2528). การศึกษาเอกชนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
อุทัย หิรัญโญ. (2531). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-28