การศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับการแต่งงาน ของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่ากับชาวพุทธล้านนา

ผู้แต่ง

  • พระภาสน ถิรจิตฺโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การศึกษาเปรียบเทียบ, ความเชื่อในพิธีกรรม

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับการแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าบ้านแม่จันใต้กับชาวพุทธล้านนาบ้านแม่ต๋ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับการแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่ากับกับชาวพุทธล้านนาบ้านแม่ต๋ำ และเปรียบเทียบความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับการแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าบ้านแม่จันใต้กับชาวพุทธล้านนาบ้านแม่ต๋ำ โดยใช้วิธีการวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกจากลุ่มผู้รู้และบุคคลที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับนำหลักวิชาการมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์แล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า

ความเชื่อการเลือกคู่ครอง ทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ จะเลือกจากความพึงพอใจของตนเองเป็นหลัก สิ่งที่สำคัญต้องเป็นคนดี ไม่เกี่ยวข้องอบายมุขต่างๆ เพราะต่างก็มีความเชื่อว่า เมื่อแต่งงานกันไปแล้วสามารถสร้างฐานะให้มั่นคงได้ กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าบ้านแม่จันใต้ ไม่นิยมเลือกคู่ครองที่ต่างฝ่ายต่างเป็นลูกคนสุดท้องและไม่นิยมเลือกคนในวงศ์ตระกูลเดียวกันหรือต่างชาติพันธุ์ ชาวพุทธล้านนาบ้านแม่ต๋ำ เฉพาะคนที่มีสถานภาพทางสังคมสูง พ่อแม่จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ สำหรับความเชื่อการเกี้ยวพาราสี ทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์มีการใช้เครื่องดนตรีเป็นสื่อและมีการนำโทรศัพท์มือถือเข้ามาเป็นสื่อในการพูดคุย กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าบ้านแม่จันใต้ ห้ามเกี้ยวพาสีในบ้าน เพราะมีความเชื่อว่าจะถูกผีบรรพบุรุษลงโทษให้มีอันเป็นไป โดยจะมีสถานที่เฉพาะคือลานเที่ยวในชุมชน ชาวพุทธล้านนาบ้านแม่ต๋ำ ใช้สถานที่ที่บ้านของฝ่ายหญิงกับสถานที่ของวัดช่วงมีงานเทศกาล และจะไม่มีการร่วงเกินเพราะมีความเชื่อว่า เป็นสิ่งไม่ดีผิดผีปู่ย่าผีตายาย ความเชื่อการทาบทามสู่ขอ กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าบ้านแม่จันใต้ จะใช้เพื่อนหรือญาติที่เป็นชายเท่านั้น ในวันที่ไปทาบทามสู่ขอมีการนำเหล้าขาวไปมอบให้กับพ่อของฝ่ายหญิง ส่วนชาวพุทธล้านนาบ้านแม่ต๋ำ ผู้ทำหน้าที่สู่ขอไม่กำหนดว่าจะเป็นหญิงหรือชายแต่ต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้เป็นที่ยอมรับของฝ่ายหญิง เมื่อตกลงกันได้ จะทำพิธี ìใส่ผีค้างไว้ก่อนî เปรียบเสมือนเป็นการตกลงหมั้นหมายไปในตัว และก่อนการแต่งงานห้ามมีการสร้างเรือนหอ เพราะกลัวจะเกิดอาถรรพ์จะ ทำให้คู่รักเกิดการแตกแยกพลัดพรากจากกัน มีอันเป็นไปไม่สามารถแต่งงานกันได้

References

จันทร์ ไพจิตร ป. 9. (2509). ประมวลพิธีมงคลของไทย ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเชีย.

จำรัส ศิริ. (2508). ยามอัฏฐกาลและดวงปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : อาศรมค้นคว้าวิทยาการทางโหราศาสตร์.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2527). ผีเจ้านาย. กรุงเทพมหานคร : พายับออฟเซทพริ้นท์.

ทีมงานศูนย์การศึกษาชนเผ่า. (อัดสำเนา). สรุปข้อมูลการศึกษา ประเด็น กลไกองค์ความรู้ ความเชื่อประเพณีวัฒนธรรมอาข่า. เชียงราย : มปส. มปป.

นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เบญญารัตน์ อติชาตนานนท์. (2530). ไสยศาสตร์ในสี่ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สากลศึกษาจำกัด.

พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต). (2543). พระพุทธเจ้าในสายตานักปราชญ์โลก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2545). จิตวิทยาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

มณี พะยอมยงค์. (2543). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.

รัชนีกร เศรษโฐ. (2522). สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์ ภาคสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2530). ความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมของชุมชนชาวจีน. งานวิจัยลำดับที่ 18 จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.
โครงการเผยแพร่งานวิจัย ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพัตรา สุภาพ. (2540). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

สุนทรี พรหมเมศ. (2540). ชาวเขาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ. (2518). ชาวเขาเผ่าอีก้อ. กรุงเทพมหานคร: มปส.

สมาคมชาวอ่าข่าเชียงราย. (อัดสำเนา). “พิธีกรรมประเพณีรอบปีอ่าข่า”. เชียงราย : สมาคมชาวอ่าข่า เชียงราย. มปป.

สมาคมชาวอ่าข่าเชียงราย. (อัดสำเนา). ศาสนา ความเชื่อ มารยาทอ่าข่า. เชียงราย : สมาคมชาวอ่าข่า เชียงราย. มปป.

John E. Conklin, (1984). Sociology An Introduction. New York : Macmillan Publishing Co., Inc.

Mavis. Hiltunen Biesanz and John Biesanz. (1987). Introduction to Sociology. 3 Ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc.

Popeonoe David. (1980). Sociology. 4 Ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-28