ศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
พระสงฆ์, บริหารวัดบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย เรื่อง ìศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูนî มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และบทบาทพระสงฆ์ในการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยทำการศึกษาเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และพระลูกวัด ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน จำนวน ๖ ตำบล ๕๑วัด
ผลการศึกษาพบว่า เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และพระลูกวัด มีสภาพปัญหาในการบริหารจัดการวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ในระดับน้อย ñ ปานกลาง เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ทั้งองค์การภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญ และนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์การ ธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสู่ประชาชน โดยมุ่งให้เกิดความเป็นอิสระในการบริหารงาน การลดการควบคุม ให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายสถาบันที่ทำหน้าที่บริหารงานภาครัฐ นอกจากจะต้องกำหนดบทบาทของตนอย่างชัดเจนแล้ว ควรมีความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบ ต่อแนวทาง การใช้อำนาจในการดำเนินงาน วัดก็เช่นเดียวกันมีการนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ในการบริหารจึงทำให้ปัญหาในการใช้หลักธรรมาภิบาลมีไม่มาก จึงมีระดับปัญหาอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลางเท่านั้น
References
กัลยา เนติประวัติ. (2544). การยอมรับรูปแบบการจัดองค์การทางสังคมแบบใหม่ ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดีในองค์การภาครัฐ : กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [ม.ป.ท.] : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คนิตย์ จันทบุตร และสุบรรณ จันทบุตร. (2545). ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีวัดป่านานาชาติ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
โทขันธ์. (2537). พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
จิรพรรณ กาญจนจิตรา. (2536). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543). พุทธศาสนาในการความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย.กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2542). มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.
วิทย์ วิศทเวทย์. และเสถียรพงษ์ วรรณปก. (2533). หนังสือเรียนสังคมศึกษา รายวิชา ส ๐๔๑๒ พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.
อมร โสภณวิเชษฐ์วงศ์ และดร.กวี อิศริวรรณ. (2543). หนังสือเรียนสังคมศึกษา รายวิชา ส 0113 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ภาคเรียนที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.