วิธีกำจัดวิสภาคารมณ์ในวิปัสสนา : กรณีศึกษา นิวรณ์ 5 ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

ผู้แต่ง

  • พระบุญทรง ปุญฺญธโร, ดร.

คำสำคัญ:

วิปัสสนา, นิวรณ์ 5

บทคัดย่อ

วิธีกำจัดวิสภาคารมณ์ในวิปัสสนา : กรณีศึกษานิวรณ์ 5 ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายประเภทและลักษณะของนิวรณ์ที่เป็นวิสภาคารมณ์ในวิปัสสนาและวิธีกำจัดวิปัสสนาคารมณ์ในวิปัสสนาโดยเฉพาะนิวรณ์ 5 
จากการศึกษาพบว่า วิสภาคารมณ์ในวิปัสสนา หมายถึง อารมณ์เป็นเครื่องขวางกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี มี 5 ประเภท คือ กามฉันทนิวรณ์ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ติดใจในกามคุณอารมณ์ 5 อันมี รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง, พยาปาทนิวรณ์ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ความโกรธที่มุ่งจะปองร้ายผู้อื่น, ถีนมิทธนิวรณ์ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ความหดหู่ ความท้อถอย, อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ, และวิจิกิจฉานิวรณ์ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ความสงสัยลังเลใจในสิ่งที่ควรเชื่อ ไม่แน่ใจ 
โดยลักษณะอาการของวิสภาคารมณ์ เปรียบเหมือน “คนเป็นหนี้” ไม่ว่าเขาจะไปอยู่ในที่ใด ประกอบงานใด ก็ย่อมมีแต่ความทุกข์ใจเพราะหนี้เป็นเหตุ เปรียบเหมือน “คนเป็นโรค” กายและใจย่อมถึงความลำบากในการยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น เปรียบเหมือน “คนถูกจองจำในเรือนจำ” แม้ภายนอกจะมีงานมงคล รื่นเริงกัน ผู้ถูกคุมขังก็ไม่อาจมาร่วมงานได้ เปรียบเหมือน “คนเป็นทาส” ไม่อาจทำอะไรๆ หรือไปไหนมาไหนได้โดยชอบใจ เปรียบเหมือน “คนมีทรัพย์” ผู้ต้องเดินทางไกลกันดาร มีภัยข้างหน้า เขาต้องคอยระแวดระวังภัย ตลอดเวลาเพราะความที่ต้องรักษาทรัพย์ เป็นต้นฉันนั้น
การกำจัดวิสภาคารมณ์นั้นต้องอาศัยหลักการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยการพิจารณานิวรณธรรมนั้นมีหลักในการกำหนด คือ เมื่อนิวรณ์ทั้ง 5 ตัวใดเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติต้องมีสติตั้งมั่นกำหนดรู้ในนิวรณ์นั้นๆ ให้รู้ชัดทั้งการเกิดขึ้นและการดับไปของนิวรณ์ว่าเป็นเพียงนามธรรมโดยสภาพธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ควรละเมื่อเกิดขึ้นกับจิตของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ต้องใช้หลักโยนิโสมนสิการ มีสติในการกำหนดรู้นิวรณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงการรู้สภาวธรรมของรูปนามโดยเท่าทันปัจจุบันอารมณ์แล้วผู้ปฏิบัติจะเห็นการเกิดดับของรูปนามตามความเป็นจริงและเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนาญาณไปตามลำดับแห่งวิปัสสนาจนสามารถกำจัดวิสภาคารมณ์ได้ในที่สุด

References

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). ธรรมภาคปฏิบัติ 1. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยา.

ชูศักดิ์ ทิพย์เกสร และคณะ. (2548). พระพุทธเจ้าสอนอะไร. แปลจากภาษาอังกฤษเป็น ภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฐิตวณฺโณ ภิกฺขุ (พิจิตร). (2534). วิปัสสนาภาวนา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2526). วิปัสสนานิยม. กรุงเทพมหานคร: ศิวพร.

แนบ มหานีรานนท์. (2537). การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ประยงค์ สวรรณบุบผา. (2544). จิตบำบัดแนวพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระเทพมุนี (วิลาส ญาณวโร ป.ธ.9). (2527). วรรณกรรมไทยเรื่องกรรมทีปนี. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองธรรม.

พระเทพวิสุทธิกวี. (2543). การพัฒนาจิต. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง). (2549). มหาสติปัฏฐานทางสู่พระนิพพาน. กรุงเทพมหานคร : ไทยรายวันการพิมพ์.

พระคันธสาราภิวงศ์. (2541). การเจริญสติปัฏฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. ลำปาง : จิตวัฒนาการ.

พระญาณโปนิกาเถระ. (2545). หัวใจกรรมฐาน. (พลตรีนายแพทย์ชาญ สุวรรณวิภัช : แปล). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สยาม.

พระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ. (2539). วิปัสสนาทีปนีฎีกา. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชพรหมาจารย์ (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล). (2547). ทางสายเอก. พิมพ์ครั้งที่ 6. เชียงใหม่ : ช้างเผือก.

พระธรรมราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิเถร ป.ธ.9). (2552). วิปัสสนากรรมฐาน ภาค1เล่ม1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกลางกองการวิปัสสนาธุระคณะ 5.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2544). พระไตรปิฎกอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

_________. (2546). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-15