การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีการปฏิบัติตนตามหลักกตัญญูกตเวที ในพุทธปรัชญาเถรวาทของคนไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาศุภชัย สุโภภาโส

คำสำคัญ:

ความกตัญญูกตเวที, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ   1) เพื่อศึกษาหลักกตัญญูกตเวทีในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนตามหลักกตัญญูกตเวทีในพุทธปรัชญาเถรวาทของคนไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติตนตามหลักกตัญญูกตเวทีในพุทธปรัชญาเถรวาทของคนไทย ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลี /ไทย และ อรรถกถา ตลอดถึงเอกสาร ตำรา วิชาการ และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความกตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อกันและกัน ด้วยความสำนึกในบุญคุณของบุคคล สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อตนเองทั้งโดยตรงและโดยอ้อม 2) คนไทยปฏิบัติตามหลักกตัญญูกตเวทีในพุทธปรัชญาเถรวาท ด้วยการสำนึกและตอบแทนคุณของบุพพการีชน สัตว์ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทั้งในชีวิตประจำวัน ผ่านทางขนบธรรมเนียมประเพณี วันสำคัญต่าง ๆ เพื่อให้ความสำคัญกับบุคคล สัตว์ และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่มีบุญคุณต่อตน 3) ความกตัญญูกตเวที เป็นนิมิตหมายของคนดี จะถือว่าเป็นคนดีได้ ในเบื้องต้นต้องมีความกตัญญูกตเวทีต่อคน สัตว์สิ่งของที่ตนได้พึ่งพาอาศัย  ความกตัญญูกตเวที จึงทำให้เกิดคุณค่าในระดับต่างๆ เช่น  คุณค่าต่อตนเอง ทำให้มีความสุข   ได้รับการสรรเสริญ มีอายุยืนยาว เมื่อสิ้นชีวิตไปสู่สุคติ คุณค่าต่อสังคม  ย่อมจะเกื้อหนุนความมั่นคงของสังคม และคุณค่าต่อพระพุทธศาสนา ทำให้พระศาสนาดำรงอยู่ เพราะความกตัญญูกตเวทีในพระผู้มีพระภาคเจ้า

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535).พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิริมงฺคโล. (2539). มงฺคลตฺถทีปนี (ทุติโย ภาโค). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2017-06-25