สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธในงานประติมากรรมธรรมศิลป์ ของธงชัย ศรีสุขประเสริฐ

ผู้แต่ง

  • พระปลัดไกรสร นริสฺสโร

คำสำคัญ:

สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธ, ประติมากรรมธรรมศิลป์, ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธในงานประติมากรรมธรรมศิลป์ของ ธงชัย ศรีสุประเสริฐ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาแนวคิดสุนทรียศาสตร์เชิงพุทธ แนวคิดการสร้างสรรค์ผลงาน ลักษณะรูปแบบ และวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธ ในผลงานประติมากรรมธรรมศิลป์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกผลงานศิลปะชั้นเอกของธงชัย ศรีสุขประเสริฐ จำนวนหนึ่งมาเป็นข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์

ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ เป็นหนึ่งในกลุ่มศิลปินที่อาสาเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ วัดพุทธประทีป ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ร่วมกับศิลปินชั้นครูหลายท่าน

ผลการวิจัยพบว่า สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธ คือ ความงามในทัศนะทางพระพุทธศาสนาที่ก่อให้เกิดรูปแบบ ศิลปะแฝงอยู่ในร่มเงาของพุทธศาสนา กล่าวถึง ความงามของคนและวัตถุสิ่งของ รวมไปถึงความงามของธรรมชาติ

ขณะที่ งานประติมากรรมธรรมศิลป์ เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนความสูญเสียและความสมปรารถนาทางโลกียธรรม บนพื้นฐานของความอยากได้อยากมีอยากเป็น จึงเป็นการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยจินตนาการจากรูปทรงสิ่งมีชีวิต ที่เหนือความเป็นจริงในธรรมชาติ

จากการศึกษาค้นพบอีกว่า งานประติมากรรมของ ธงชัย ศรีสุประเสริฐ เป็นศิลปะเพื่อศีลธรรม โดยองค์ประกอบการสร้างศิลปะของศิลปิน อยู่ในกรอบของศีลธรรม มิใช่เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นการสร้างเพื่อความจรรโลงใจ มีเรื่องราวเนื้อหาที่แฝงไปด้วยธรรม จึงถือได้ว่าเป็นผลงานที่ทรงคุณค่า เพราะเป็นศิลปะที่เกื้อหนุนสัมพันธ์กับศีลธรรม

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เครือจิต ศรีบุญนาค. (2542). สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพมหานคร : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

ธงชัยศรี สุขประเสริฐ และคณะ. (2549). นิทรรศการศิลปะไทย โดยมหาบัณฑิตศิลปะไทย คนเมืองเจียงใหม่. เชียงใหม่ : ม.ป.ท.

ปานทิพย์ ศุภนคร. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2552). ปรัชญากรีก – บ่อเกิดภูมิปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพมหานคร : สยาม.

ฟื้น ดอกบัว. (2544). ปวงปรัชญากรีก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สยาม.

พระมหารังสันต์ กิตฺติปญฺโญ. (2553). การศึกษาวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสวนทรา ธมฺมจารี (สุจารี). (2550). การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาศิลปะตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Plato. (1926). Laws. trans. R.G. Bury, 2 vols. Loeb Library, London.

Plato. (1941). Republic. The Republic. trans. F.M. Comford, Oxford.

Sunthorn Na-Rangsi. (1976/2519). The Buddhist Concepts or Karma and Rebirth. Bangkok: Mahamakut Rajavidyalaya Press.

(2015). THAI NEOTRDITIONAL ART. Bangkok : MOCA Museum of Contemporary Art. Thongchai Srisukprasert. (2012). LOGIYADHAMMA. Chiangmai : N.P.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2016-06-25