ศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอ ตามแนวพุทธจริยศาสตร์
คำสำคัญ:
พิธีกรรมการผูกข้อมือ, กะเหรี่ยงสะกอ, พุทธจริยศาสตร์บทคัดย่อ
บทความ "ศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอตามแนวพุทธจริยศาสตร์" มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในพระไตรปิฎก
(2) เพื่อศึกษาพิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอ (3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอตามแนวพุทธ
จริยศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า พุทธจริยศาสตร์เป็นหลักการดำเนินชีวิตตามคำสอนในพระพุทธศาสนาโดยใช้ในการตัดสินและแก้ปัญหา ซึ่งวางอยู่บนกรอบความถูกต้องของศีลธรรมในพระพุทธศาสนาโดยปรากฏในพระไตรปิฎกอยู่ 2 ประการ 1.) สัจธรรม คือ ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ 2.) ศีลธรรม คือ ข้อที่มีลักษณะเป็นการชักชวนให้กระทำหรืองดเว้นไม่กระทำบางอย่าง มีเกณฑ์ในการตัดสินอยู่ 2 ประการ คือ 1.) ทุจริต 3 2.) สุจริต 3 และคำนึงถึงเจตนาอีกด้วย
พิธีกรรมการผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอเป็นพิธีกรรมที่ยึดถือปฏิบัติสืบตามกันมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ซึ่งมีความเชื่อเรื่องขวัญว่า เมื่อขวัญตกหล่นหรือหนีหายไปจากตัว เป็นเหตุให้เจ็บไข้ได้ป่วย จึงต้องมีการผูกข้อมือเพื่อล่อขวัญหรือเรียกขวัญให้กลับมา โดยทุกๆปี จะผูกข้อมืออยู่ 2 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนสิงหาคม ทั้งนี้เพื่อความสุขทางกายและทางใจ
พิธีกรรมการผูกข้อมือตามแนวพุทธจริยศาสตร์ พบว่า การผูกข้อมือของกะเหรี่ยงสะกอนั้นไม่เป็นไปตามพุทธจริยศาสตร์ในส่วนของกายทุจริต คือ มีการฆ่าสัตว์ในการประกอบพิธีกรรม ส่วนวจีทุจริต ปฏิบัติได้โดยประกอบวจีสุจริต และมโนทุจริตปฏิบัติได้โดยประกอบมโนสุจริต และการผูกข้อมือนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น
References
ขวัญชีวัน บัวแดง. (2540). กะเหรี่ยง หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.
บือพอ. (2549). ชีวิตข้าปฺกาเกอะญอ. กรุงเทพมหานคร: สารคดี.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับผู้วิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ศรีอนันท์การพิมพ์.
มานพ ชื่นภักดิ์. (2553). ประเพณีผูกข้อมือชนเผ่าปกาเกอะญอ (กี๊จือลาขุ) ตำบล แม่จัน อำเภอ อุ้มผาง จังหวัด ตาก. ตาก: วัฒนธรรมจังหวัดตาก.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2549). พุทธจริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดา.