รูปแบบการเจริญสติเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
คำสำคัญ:
รูปแบบการเจริญสติ, พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, โรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มทดสอบก่อน และหลัง มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อน และหลังได้รับการฝึกรูปแบบการเจริญสติ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกรูปแบบการเจริญสติกับกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 60 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มเจาะจง จัดให้เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับการฝึกรูปแบบการเจริญสติ เป็นเวลา 3 เดือน ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับรูปแบบการพยาบาลตามปกติ การประเมินผลกระทำภายหลังได้รับการฝึกรูปแบบการเจริญสติในสัปดาห์ที่ 12 โดยใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองหลังได้รับรูปแบบการเจริญสติมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าก่อนได้รับรูปแบบการเจริญสติที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) 2) ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลังได้รับรูปแบบการเจริญสติมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลตามปกติที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)
References
จุฑามาศวารีแสงทิพย์ และคณะ. (2559). การศึกษาผลของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อระดับของความดันโลหิต. พุทธศาสตมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดสมชาย ปโยโค (ดำเนิน). (2558). รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภารวี ศักดิ์สิทธิ์. (2554). การประยุกต์ใช้หลักสติปัฏฐาน 4 ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน: กรณีศึกษากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรรณรา ชื่นวัฒนา,ณิชานาฏ สอนภักดี. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 6 (3), 163.
วัฒนา สุพรหมจักร. (2554). หลวงพ่อเทียน ความมหัศจรรย์ในพระธรรมดา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธนา.
วิชัย เทียนถวาย. (20 มิถุนายน 2555). ทั่วโลก : ทุก 8 วินาทีมีคนตาย 1 คน เบาหวานเรื่องไม่เบา ที่เราต้องรู้. สืบค้นเมื่อ. 21 พฤศจิกายน 2556. แหล่งที่มา: www.hfocus.org/content /2012/10/1389.
สมหวัง แก้วสุฟอง (แปล). (2560). พุทธจารีตแห่งการพัฒนาจิต. เชียงใหม่: บี เอสดีพริ้นติ้ง.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (20 พฤษภาคม 2554). เวชปฏิบัติที่ดีทางคลินิกเรื่องโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus). สืบค้นเมื่อ. 23 พฤศจิกายน 2556. แหล่งที่มา : www.nhso.go.th /Appendixs_tcen_D.
Elliot Dacher. (1966). Intentional Healing. PNI: Paragon.
Elizabeth A.H. (2013). Loving-kindness meditation practice associated with longer telomeres in women. Brain Behavior and Immunity. 32 (1), 159-63.
Jennifer D.(2012). Changes in stress, eating, and metabolic factors are related to changes in telomerase activity in a randomized mindfulness intervention pilot study. Psychoneuendocrinology. 37 (1), 917-28.
Zamarra J. (1996). Usefulness of the transcendental meditation program in the treatment of patients with coronary Disease. AM. J. Cardinal. 10 (1), 222-230.