ความมั่นคงของมนุษย์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พระครูสมุห์วัลลภ ฐิตสํวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ฟองจันทร์ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประไพศิริ สันติทฤษฎีกร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความมั่งคง, มนุษย์

บทคัดย่อ

ความคิดเรื่องความมั่นคงมนุษย์ เริ่มเป็นที่สนใจอย่างจริงจังในประเทศไทย เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการ และจัดตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ขึ้นในปี 2545 แต่ในทางปฏิบัติแล้ว มีการเคลื่อนไหวในด้านนี้มานาน ตั้งแต่การเสนอหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎรในปี พ.ศ.2475 แนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิตของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2516) และการส่งเสริมการสร้างระบบสวัสดิการ สุขภาพดีถ้วนหน้า ภูมิปัญญาชาวบ้านและชุมชนเข้มแข็ง ไปจนถึงสิทธิมนุษยชน ในช่วงทศวรรษ 2530 และ 2540 ประกอบขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่มากพอสำหรับการศึกษา ในระยะใกล้หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศไทยได้มีนวัตกรรมทางสังคมการเมือง ที่ส่งเสริมความมั่นคงมนุษย์ในระดับหนึ่ง

โดยสรุปความมั่นคงของมนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจถึงสภาพทางสังคม และวัฒนธรรมของประชากรในพื้นที่นั้นๆ อาทิเช่น สถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ทางเศรษฐกิจการเมืองการปกครอง ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สุขภาพสุขภาพอนามัย ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดถึงแนวทางในแก้ไขปัญหา และการวางแผนนโยบายเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง

References

ความมั่นคงของมนุษย์ : ยุทธศาสตร์ใหม่การพัฒนา บทความพิเศษ โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย โดยการสนับสนุนของ สกว. (2547). มติชนรายสัปดาห์. (1), 37.

มติชนรายสัปดาห์. โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย (TTMP) โดยการสนับสนุนของ สกว. (4 พฤศจิกายน 2548). บทความพิเศษ “สถานการณ์ความมั่นคงมนุษย์ ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ. (20 มีนาคม 2562). แหล่งที่มา: http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q4/article 2005nov04p14.htm.

มติชนรายสัปดาห์. (2549). บทความพิเศษ โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย (TTMP) โดยการสนับสนุนของ สกว. มติชนรายสัปดาห์ 26. (1328), 30.

มติชนรายสัปดาห์. (2548). บทความพิเศษ โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย (TTMP) โดยการสนับสนุนของ สกว. มติชนรายสัปดาห์. 26. (1324), 36.

มติชนรายสัปดาห์. (2548). บทความพิเศษ โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย (TTMP) โดยการสนับสนุนของ สกว. มติชนรายสัปดาห์. 26. (1322), 37.

มติชนรายสัปดาห์. (2549). บทความพิเศษ โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย (TTMP) โดยการสนับสนุนของ สกว. มติชนรายสัปดาห์. 26. (1331), 38.

มติชนรายสัปดาห์. (2549). บทความพิเศษ โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย (TTMP) โดยการสนับสนุนของ สกว. มติชนรายสัปดาห์. 26. (1330), 43.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2523). สัททนีติปกรณ์ ธาตุมาลา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29