การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการดูแลผู้สูงอายุ: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้สูงอายุชุมชนบ้านไร่ ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาตามหลักไตรสิกขาในการดูผู้สูงอายุของชุมชนบ้านไร่ ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่และ 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการดูแลผู้สูงอายุของชุมชน บ้านไร่ ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัย จำนวน 15 คน
ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการดูแลผู้สูงอายุ 3 ด้านคือ 1) ด้านศีล 2) ด้านสมาธิ และ 3) ด้านปัญญาทั้ง 3 ด้านนี้ ถูกนำไปใช้กับการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการดูแลผู้สูงอายุของชุมบ้านไร่ 3 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านจิตใจ และ 3) ด้านปัญญา ผลการดำเนินงานชี้ให้เห็นว่า เมื่อผู้สูงอายุมีการประยุกต์ใช้หลักทางพุทธศาสนาคือ พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับการดูแลตนเองคือ หลักไตรสิกขา ซึ่งเป็นหลักการในการดูแลตนเองและระวังตนเองในเรื่องของร่างกายและจิตใจ
แนวทางแก้ไขควรเพิ่มคือ ลูกหลานควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด จัดสร้างกิจกรรมเกี่ยวกับการอบรมธรรมะสู่ชุมชนให้แก่ผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมโครงการธรรมะเยียวยา กิจกรรมการออกกำลังกายด้วยการฝึกโยคะเพื่อการกำหนดลมหายใจเข้าออก การดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุในชุมชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุป่วยติดเตียงอยากให้หน่วยงานของภาครัฐเช่น สาธารณสุขตำบล เทศบาล สันป่าตองได้ดูแลผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงเป็นต้น
References
ทรงธรรม์ สวนียะ. (2540). บทบาทของครอบครัวจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อภาวการณ์พึ่งตนเองของ ผู้สูงอายุลดถอยลง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมม์ทีเค พริ้นติ้ง.
ธนพรรณ ธานี. (2545). การก่อให้เกิดกระบวนการประชาสังคมบวร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก. (2545). อายุยืนอย่างมีคุณค่า. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พรเทพ สาระหงส์. (2540). พุทธจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยาจินต์ สินสุภา. (2554). ความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการจักกิจกรรมของวัดเพื่อสวัสดิการสังคม สำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมม์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วศิน อินทสระ. (2558). หลักไตรสิกขาเป็นกระบวนการศึกษาที่มีลักษณะบูรณาการเพราะองค์ประกอบของไตรสิกขาประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิสุทธิ์ เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์. (2541). พัฒนาการมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (2541). ไตรสิกขาว่า ไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา จิตสิกขาปัญญาสิกขา หรือ ศึกษาศีล ศึกษาจิต ศึกษาปัญญา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมม์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2550). การนําหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์เข้ากับชีวิตประจําวันเพื่อนําไปสู่การพัฒนาตนเองและสังคมได้แก่หลักไตรสิกขา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมม์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.