เมื่อชาง : เซียมซีฉบับใบลานล้านนา
คำสำคัญ:
เมื่อชาง, วัดไชยพรหม, เซียมซี, คำพยากรณ์บทคัดย่อ
เมื่อชาง : เซียมซีฉบับใบลานล้านนา เป็นบทความที่เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปี 2560เรื่อง “การสืบค้นและอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดในจังหวัดพะเยา และการสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น” เมื่อชางชุดนี้ พบที่วัดไชยพรหม ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เนื้อหาของคัมภีร์เป็นคำพยากรณ์ ที่จารลงในใบลานขนาดเล็ก ความกว้าง 4 เซนติเมตร และ ความยาว 10 เซนติเมตร ด้วยอักษรล้านนา คำว่า “เมื่อ” หมายถึง การพยากรณ์ฤกษ์ยาม คำว่า “ชาง” หมายถึง การเลือกออก, คัดออก ดังนั้น “เมื่อชาง” หมายถึง การพยากรณ์ ด้วยการสุ่มเลือกคำพยากรณ์ออกมา เมื่อชางชุดนี้ มีใบลานจำนวน 47 ใบ ที่จารไว้เพียงด้านเดียว ร้อยเก็บด้วยสายสยองมีไม้ประกับเรียบทั้ง 2 ด้าน มีแผ่นไม้แบน ๆ ขนาดเล็ก ห้อยติดกับสายสยอง ผู้ต้องการคำพยากรณ์ใช้เสียบแซกลงไปในปึกใบลาน การคัดเลือกคำพยากรณ์ด้วยวิธีเช่นนี้ เรียกว่า “ชาง” คล้ายกับการเสี่ยงเซียมซี หรือ การแทงศาสตรา ของชาวไทยภาคใต้ คำพยากรณ์มีทั้งดีและร้าย จะใช้นิทานชาดก เลือกเหตุการณ์สำคัญที่เป็นจุดพลิกผันชะตาชีวิตขึ้นหรือลงของตัวละครเอกในเรื่อง มาเป็นคำพยากรณ์เทียบเคียง ตัวอย่างคำพยากรณ์ ใบที่ 46 “บุญญ์นิ ได้เมื่อพรานเอานางมโนราห์มาให้เจ้าสุธน ดีนัก”(สุธนชาดก) ถอดความว่า “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดี จะได้ลาภ หรือได้คู่ครอง เหมือนพระสุธนได้รับถวายนางมโนราห์ จากพรานป่า” นับเป็นภูมิปัญญาล้านนาอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ทำนายโชคชะตาและอนาคต พอเป็นแนวบ้างจะได้ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท
References
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2557). การสำรวจรวบรวมและจัดทำระบบสารสนเทศ สำเนาภาพถ่ายพระธรรมคัมภีร์ ใบลาน พระนครน่าน สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ . (2557). พิธีกรรมในวิถีชีวิตล้านนาจากเอกสารโบราณ. ทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์เชียงใหม่.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ . (2559). การสืบค้นและอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดในกลุ่มจังหวัดล้านนา(เชียงใหม่ ลำพูน) และการถ่ายทอดภูมิปัญญาล้านา เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ . (2559). ปุราโณวาท: หลักจริยศาสตร์สร้างดุลยภาพชีวิตแบบล้านนา. เชียงใหม่: ร้านซี เอ็ม กราฟิก กรุ๊ป.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ . (2559). ล้านนาวิถีทัศน์ : ปทัสถานสังคมคุณภาพ. เชียงใหม่: FLUKE Graphic Design & Printing.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ . (2560). การสืบค้นและอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดในจังหวัด พะเยาและการสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เมื่อชาง. (2473). ฉบับใบลาน จารด้วยอักษรโยนหรือล้านนา ฉบับวัดไชยพรหม บ้านไชยพรหม ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. พะเยา: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (อัดสำเนา).
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (18 ธันวาคม 2561). เซียมซี. สืบค้นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562. แหล่งที่มา, https://th.wikipedia.org/wiki/เซียมซี.
วิมล ปิงเมืองเหล็ก. (2559). เล่าขานจากคนพื้นถิ่น. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณ์การพิมพ์.
ศรีเลา เกษพรหม. (2544). ประเพณีชีวิตคนเมือง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมยศ ตุ้ยเขียว.(2527). ความเชื่อถือต่างๆ งานปริวรรตจากเอกสารโบราณล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมาน สุดโต. (20 พ.ค. 2555). วัดกัลยาณมิตรเป็นต้นแบบเซียมซีในสำนักต่างๆ. สืบค้น วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562, แหล่งที่มา https://www.posttoday.com/dhamma/154962.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (24 เมษายน 2560). บทวิทยุ รายการ รู้ รัก ภาษาไทย ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย. สืบค้นวันที่ 3 มกราคม 2562, แหล่งที่มา https://www.royin.go.th/? knowledges=แทงศาสตรา.
สุจิตต์ วงษ์เทศ.(2552). จังหวัดพะเยามาจากไหน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.