การจัดการแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อรองรับประเทศไทย 4.0

ผู้แต่ง

  • พระมหาศุภวัฒน์ บุญทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • นพวรรณ วิเศษสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการ; แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์; วัดพระเชตุพน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และ 2) เสนอแนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อรองรับประเทศไทย 4.0 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก โดยมีแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นักวิชาการ และ   นักบริหาร จำนวน 10 รูป/คน ใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม คือ ศาสนวัตถุ ศาสนสถาน และโบราณวัตถุ เหล่านี้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ที่เป็นเรื่องราวของพระพุทธศาสนา วรรณคดี และประเพณี นอกจากนี้ ยังมีศิลา 1,440 แผ่น ที่จารึกสรรพวิชาต่าง ๆ ถึง 6 หมวดด้วยกัน โดยเฉพาะตำราการนวด และตำราสมุนไพร ที่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก และ 2) แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พบว่า (1) ควรตั้งจุดประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวติดต่อสอบถามข้อมูล (2) ควรจัดการเข้าชมของนักท่องเที่ยวให้เป็นระบบ (3) ควรมีนวัตกรรมแนะนำนักท่องเที่ยว (Application Map Watpho) (4) ควรมีสัญญาณ Free Wi-Fi ให้ทั่วถึง (5) ควรนำระบบการจำหน่ายบัตรเข้าชมเป็นออนไลน์ และติดตั้งเครื่องจำหน่ายบัตร (6) ควรมี QR Code ตามจุดสำคัญต่าง ๆ หลาย ๆ ภาษาให้นักท่องเที่ยวได้สแกน (7) ควรมีอารยสถาปัตย์ และมีรถเข็นไว้บริการ (8) ควรเพิ่มจุดแลกน้ำดื่มหลาย ๆ จุด (9) ควรเพิ่มการละเล่นหรือการบรรเลงดนตรีไทย และ (10) ควรเพิ่มจุดที่พัก และร้านจำหน่ายเครื่องดื่ม

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2562, แหล่งที่มา https://www.constructionvariety.com/attachments/view/?attach_id=146750.

คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามและมูลนิธิ“ทุนพระพุทธยอดฟ้า” ในพระบรมราชูปถัมถ์. (2552). จดหมายเหตุวัดพระเชตุพน สมัยรัชกาลที่ 1-4. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน. (2558). ประวัติศาสตร์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (พ.ศ. 2325-2411). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน. (2545). คู่มือนำเที่ยววัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2555). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

นิวัติ อรรถบลยุคล. (2536). การวิเคราะห์แหล่งเรียนรู้หมู่บ้านดีเด่นในจังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

เนาวรัตน์ ลิขิตวัฒนเศรษฐ์. (2544). แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสร้างเพื่อเด็กไม่ได้สร้างเพื่อใคร.วารสารวิชาการ. 4 (12), 26-28.

พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์. (2559). การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์วุฒิพงษ์ วุฑฒิวํโส. (2560). การพัฒนาวัดในประเทศไทยเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวัฒนสุตานุกูล (ลทฺธคุโณ). (2557). วัดแหล่งท่องเที่ยวการเรียนรู้เพื่อสร้างเศรษฐกิจชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา . บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภามาศ อ่ำดวง. (2554). แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2548). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต: สวนสาธารณ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29