ศึกษาวิเคราะห์พุทธศิลป์ล้านนาที่ปรากฏในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์

ผู้แต่ง

  • suwin mukdai Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chiang Mai Campus
  • พระครูสุตพัฒโนดม จารุวณฺโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประดิษฐ์ ปัญญาจีน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พรศิลป์ รัตนชูเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พีระพงษ์ ดวงแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พุทธศิลป์ล้านนา, ที่ปรากฏในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเรื่องศึกษาวิเคราะห์พุทธศิลป์ล้านนาที่ปรากฏในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและเนื้อหาของคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์(2) เพื่อศึกษาพุทธศิลปกรรมล้านนาในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ และ (3)เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธศิลปกรรมล้านนาที่ปรากฏในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า

 ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาของคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์  เป็นวรรณกรรมรัตนโกสินทร์ เล่ม 4 หมวดศาสนจักร พระรัตนปัญญาเถระ ชาวล้านนา ได้แต่งขึ้นเป็นภาษีบาลี ระหว่าง พ.ศ.2o6o -2o71 ในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ จำแนกการสร้างพุทธศิลป์ออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกัน ได้แก่ ด้านประติมากรรม เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่นลงบนสื่อต่างๆ การสร้างพระพุทธรูปในล้านนา

พุทธศิลปกรรมล้านนาที่ปรากฏในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ได้สื่อ ด้านหลักธรรมและเนื้อหาปรากฏ ในการพัฒนาตนให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านพฤติกรรม จริยธรรม ด้านจิตใจ สติปัญญา และด้านสังคม  ด้านความเชื่อ พระรัตนปฏิมา ซึ่มีฤทธิ์เดชหาประมาณไม่ได้ พุทธศิลป์เกิดจากด้านประเพณีพระเจ้าแสนเมืองอัญเชิญพระสีหลปฏิมาจากเมืองเชียงรายมาประดิษฐานเจดีย์หลวงภายในเมืองเชียงใหม่ แล้วทรงสักการบูชาโดยเคารพและหุ้มพระธาตุเจดีย์หลวงในหริปุญชัยด้วยแผ่นทองคำด้านประวัติศาสตร์ เรื่องสร้างเมืองหริปุญชัย  เรื่องรัชสมัยของพระนางจัมมเทวี เรื่องพญามังรายและทางสว่างด้วยแสงแห่งปัญญา สามารถวิเคราะห์พุทธศิลป์ที่ปรากฏในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ได้

References

ชัยเบงชร หรือ ชินบัญชอน. (2555). ไขปริศนา ใครรจนา “คาถาชินบัญชร”. มติชนสุดสัปดาห์. 32 (1639), 33.

มณี พยอมยงค์ และ ศิริรัตน์ อาศนะ. (2549). เครื่องสักการะในล้านนาไทย. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

มณี พยอมยงค์ และ ศิริรัตน์ อาศนะ. (2549). เครื่องสักการะในล้านนาไทย. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2539). มิ่งไม้มาลีจีน. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2537). ฮก ลก ซิ่ว โชคลาภอายุยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

พระรัตนปัญญาเถร. (2510). ชินกาลมาลีปกรณ์. (ฉบับแปลโดย ร.ต.ท. แสง มนวิทูร เปรียญ). เชียงใหม่: ม.ป.พ.

พระรัตนปัญญาเถร. (2550). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพมหานคร: รำไทย เพรส จำกัด.

สุรพล ดำริห์กุล. (2528). ประวัติบ้านเมืองล้านนาและโบราณสถานที่สำคัญของล้านนา. กรุงเทพมหานคร: โครงการส่งเสริมหนังสือตามแนวพระราชดำริ.

สรัสสวดี อ๋องสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์อมริรทร์.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2549). โบราณวัตถุ-โบราณสถานในวัดล้านนา. เชียงใหม่: แสงศิลป์.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2546). วรรณกรรมล้านนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29