มโนทัศน์ปรัชญาการศึกษาเชิงพุทธ
คำสำคัญ:
มโนทัศน์, ปรัชญาการศึกษา, เชิงพุทธบทคัดย่อ
มโนทัศน์ปรัชญาการศึกษาเชิงพุทธ มีความหมาย คือ วิธีครองชีวิตแบบหนึ่ง มีเนื้อหา ได้แก่ หลักสัจธรรมและหลักปฏิบัติ มีเป้าหมาย คือ อัตถะประโยชน์ 3 การศึกษาเชิงพุทธ ก็คือการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ โดยพิจารณาถึงศักยภาพของมนุษย์ว่าเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ ใช้หลักโพธิศรัทธาเป็นสภาพเอื้อให้เกิดจิตสำนึกในการศึกษาและมีศูนย์รวมของการศึกษาที่ “ปัญญา” ผ่านกระบวนการปริยัติ, ปฏิบัติ, และปฏิเวธ บุพภาคเริ่มต้นที่สัมมาทิฐิแล้วพัฒนาที่การใช้อินทรีย์ ซึ่งมีปรโตโฆสะกับโยนิโสมนสิการเป็นตัวหนุนผ่านหลักกัลยาณมิตตตา นำสู่สิกขา วิธีการศึกษานั้นใช้หลักไตรสิกขา ผ่านหลักวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า อริยมรรค ทำให้เนื้อหาของการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายที่เป็นผลสัมฤทธิ์ คือ อริยบุคคล และจะเป็นกัลยาณมิตรให้กับสังคม ทำให้เกิดคุณสมบัติในตัวผู้ได้รับการศึกษา คือ มีปัญญาและกรุณา ในขั้นการประเมินผลใช้หลักภาวนาเป็นตัวชี้วัด
มีภาวิตกาย เป็นต้น ผู้มีภาวนาครบ ชื่อว่าจบการศึกษา โดยใช้หลักธรรมที่เป็นสาระสำคัญในการอธิบาย เช่น ขันธ์ 5 เป็นต้น เชื่อมโยงผ่านสู่มนุษย์สัมพันธ์กับสังคมและสรรพสิ่งให้เกิดความถูกต้องดีงาม
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2536). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2536). สถานการณ์พระพุทธศาสนาพลิกหายนะเป็นพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). การศึกษาทางเลือก : สู่วิวัฒน์หรือวิบัติ ในยุคโลกไร้พรมแดน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). ธรรมกับไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).(2541). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสง่า ธีรสํวโร. (2550). ปรัชญาการศึกษาไทย. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 3 (1).
พระมหาสมเดช ศรีลางัด. (2544) การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดทางการปกครองของพระพุทธศาสนาและของอริสโตเติล. วิทยานิพนธ์ปริญญา อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.