นิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
นิพพาน, คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “นิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษานิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 2) เพื่อศึกษาการตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
ผลการวิจัยพบว่า ชื่อหรือไวพจน์ของนิพพานมีปรากฏในพระไตรปิฎกโดยเฉพาะใน อนาสาวทิสูตร และคัมภีร์อภิธาน มีจำวน 46 บท ที่ปรากฏในอรรถกถาและฎีกายังมีจำนวนมากกว่านี้ ที่ใช้ในพระไตรปิฎกจำนวนมาก ได้แก่ นิโรธ นิพพาน อสังขตะ โดยสภาวะ 2 ประเภท คือ สอุปาทิเสสนิพพาน กิเลสตายชีวิตยังไม่ตาย และ อนุปาทิเสสนิพพาน กิเลสตายชีวิตตาย การตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มี 4 ประเภท คือ 1) พยัญชนะ 2) สอุปาทิเสสนิพพาน 3) อนุปาทิเสสนิพพาน และ 4) อุปมา กล่าวเปรียบเทียบสภาพแห่งนิพพาน แท้จริงนิพพานเป็น โลกุตตระไม่สามารถอธิบายด้วยภาษาโลกได้ พระพุทธเจ้าจึงพยายามอธิบายได้ด้วยภาษาแห่งโลกิยะ อันเป็นกุศโลบายให้สรรพสัตว์เข้าไปสู่โลกุตตระคือนิพพาน
References
คันถรจนาจาริยเถระ. (2552). สัมภารวิบาก. กรุงเทพมหานคร: ส.ธรรมภักดี.
นววิมลเถโร. (2542). อภิธมฺมตฺถสงฺคหฎีกา. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธโฆสมหาเถระ. (2539). วิสุทฺธิมคฺคปกรณํ (ปโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาส อินทปญฺโญ. (2553). เทศนาชุดสุดท้ายของพุทธทาส : หัวใจนิพพาน.กรุงเทพมหานคร: ฐานการพิมพ์.
โมคคัลลานเถระ. (2550). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พระมหาสมปอง มุทิโต แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
โมคคัลลานเถระ. (2536). พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). 2542. กรณีธรรมกาย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสารจำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).(2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร. กรุงเทพมหานคร : คิงออฟแอนด์เวอร์ไทซิ่ง.
พระมหากัจจายนเถระ. (2550). เนตติปกรณ์. พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและอธิบาย. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์.
หลวงเทพดรุณานุศิษย์. (2550). ธาตุปฺปทีปกา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
อัคควังสเถระ. (2546). ธาตุมาลา. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์.
สิริมงฺคลาจาริโย (2535). มงฺคลตฺถทีปนี (ทุติโย ภาโค). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2546). ฮินดู-พุทธ จุดยืนที่แตกต่าง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิพม์ศยาม.