ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในล้านนา : การวิเคราะห์จากคัมภีร์ และหลักฐานทางโบราณคดี

ผู้แต่ง

  • ผศ.ดร.เทพประวิณ จันแรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, คัมภีร์, หลักฐานทางโบราณคดี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้  เป็นการศึกษาเชิงเอกสารตามหลักฐานคัมภีร์สำคัญและมีการสัมภาษณ์แบบโครงสร้างประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยดังนี้ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจากคัมภีร์สำคัญในล้านนา ในสมัยเจ้าแม่นางจามเทวี ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์พงศาวดารหริภุญชัย  บริเวณดินแดนทางเหนือ หรือแคว้นโยนก มีชุมชนสำคัญที่ตั้งถิ่นฐานมาก่อน ถือเป็นกลุ่มของชนชาติไทยเป็นครั้งแรก คือ เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย และเมืองพะเยา และเมืองต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า เวียง  แหล่งโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาในล้านนา เป็นศาสนสถานในจังหวัดลำพูน เป็นศิลปละโว้ ศาสนสถานในวัดรมณียาราม  วัดพระคง วัดประตูลี้  วัดดอนแก้ว  วัดมหาวัน  วัดสันป่ายางหลวง และวัดจามเทวี ยุคพระยามังรายสร้างเวียงกุมกาม วัดเชียงมั่นและเมืองเชียงใหม่ ยุคพระเจ้ากาวิละเชื้อเจ้าเจ็ดตน ฟื้นฟูวัดวาอารามปรักหักพัง ล้านนารวมเข้าสยามประเทศ วิเคราะห์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาฯ คัมภีร์จามเทวีวงศ์ กล่าวถึงการนำพระพุทธศาสนามาจากเมืองละโว้ พร้อมพระสงฆ์จำนวน 500 รูป พระไตรปิฎกเข้ามาสู่ล้านนา หลักฐานโบราณคดี คือ วัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี เป็นต้น คัมภีร์ตำนานมูลศาสนา กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ ประวัติของพระพุทธเจ้า การทำสังคายนาครั้งที่ 1-3 พระราชกรณียกิจพระเจ้าอโศก หลักฐานโบราณคดี  คือ เจดีย์วัดสวนดอก วัดเจ็ดยอด คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงประวัติของพระพุทธเจ้า การทำสังคายนา ครั้งที่ 1-3 พระมหากษัตริย์กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา หลักฐาน คือ การสร้างวัดเจดีย์หลวง วัดเจ็ดยอด อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระพุทธสิหิงค์ ตำนานโยนก การสร้างอาณาจักรต่างๆ ในล้านนา การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา หลักฐานคือ วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดเจ็ดยอด เป็นต้น

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2527). ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและองค์การศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา

กรมศิลปากร. (2540). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2545), พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2549). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2549). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ยุพิน เข็มมุกด์. (2527). พระพุทธศาสนาในล้านนาไทยสมัยราชวงศ์มังราย พ.ศ. 1849 – 2101”. กรุงเทพมหานคร: สภาวิจัยแห่งชาติ.

พรรณเพ็ญ เครือไทย (บรรณาธิการ). (2540). วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ตรัสวิน.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น), (2548). การศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องอานิสงส์และคัมภีร์ที่ใช้เทศน์ในเทศกาลต่าง ๆ ของล้านนา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Phramaha Chanya Wadsanapitranont. (1985). A Critical Study of The Jinakãlamãli. Thesis submitted for the Degree of Doctor of Philosophy. Graduated : University of Delhi.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29