บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การพัฒนาสังคม; บทบาทพระสงฆ์, การเปลี่ยนแปลงทางสังคม, การพัฒนาสังคมในจังหวัดเชียงใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม 2) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทาง การพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมในจังหวัดเชียงใหม่
ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมมีพระธรรมวินัยเป็นข้อกำหนด ด้วยกิจหรือธุระของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาโดยแท้คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ แต่ปัจจุบันบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมจังหวัดเชียงใหม่ได้อนุวัตรตามสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมจังหวัดเชียงใหม่มีมาอย่างยาวนาน พระสงฆ์ในอดีตหลายรูป เป็นแบบอย่างให้กับพระสงฆ์ในยุคปัจจุบัน อาทิ พระครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย, พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) เป็นต้น
บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมจังหวัดเชียงใหม่ มีปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข สรุปได้ 4 หัวข้อ ดังนี้ (1) ปัญหาการสร้างบุคลากรไว้รองรับงานการพัฒนาในอนาคต ดังนั้นองค์การคณะสงฆ์จึงควรให้โอกาสพระสงฆ์รุ่นใหม่ได้มีบทบาทในการพัฒนาสังคมเพื่อสร้างบุคคลากร (2) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม องค์การสงฆ์ควรมีแนวทางในการพัฒนาสังคมให้มีความสอดคล้องกับบริบททางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง (3) ปัญหาการมีส่วนร่วมและการบูรณาการองค์การสงฆ์ควรสร้างความตระหนักร่วมกับประชาชนว่าทิศทางการพัฒนาเป็นการอำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนส่วนใหญ่ (4) ความเข้าใจในบทบาทการพัฒนาสังคมของพระสงฆ์ของพุทธบริษัท องค์การคณะสงฆ์ควรปลูกฝัง กระตุ้นเตือน ให้พุทธบริษัทเข้าใจว่าต่างมีบทบาทหน้าที่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
References
พระครูวิทิตศาสนาทร. พระมหาอำนวย ปญฺญาวชิโร และพระครูใบฏีกาหล้า อมรเมโธ. (2552). เรื่องเล่า จากภาพ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร. เชียงใหม่: วิทอิน ดีไซน์.
พระครูวินัยธรจักรี ศรีจารุเมธีญาณ, สัญญา เคณาภูมิ และวิทยา เจริญศิริ. (2559). บทบาทพระสงฆ์ไทยใน สังคมยุคโลกาภิวัตน์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4 (1), 117-136.
พระนิคม กิจฺจสาโรและคณะ. (2548). การฟื้นฟูความสัมพันธ์ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของชาว ปกาเกอะญอ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พระประจบ ก๋วยข้าว. (2548). บทบาทของพระสงฆ์ในการป้องกันและให้ความสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเอดส์ : กรณีศึกษา กลุ่มพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย). พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร: กองทุน ป.อ. ปยุตฺโต เพื่อเชิดชูธรรม.
พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี. (1 เมษายน 2560). พระผู้นำ ทางจิตวิญญาณ. ข่าวสด. น.23.
พระมหาฉันทยา คนเจน. (2555). บทบาทพระสงฆ์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านกิจกรรมทาง เศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาพระอาจารย์สุบิน ปณีโต. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.
พระมหาณัฐกิจ ทิมกลับ. (2553). บทบาทพระสงฆ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์โบราณวัตถุสถาน : กรณีศึกษาชุมชนโบราณบ้านควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 5 (1), 201-219.
พระมหาบุญเกิด มะพารัมย์. (2542). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนที่พูดภาษาเขมรถิ่น ไทย กรณีศึกษา : บทบาทหลวงพ่อเม้าอิสฺสโร วัดป่าเลไลย์ และเครือข่ายจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชนบทศึกษา. มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระมานิตย์ ญาณธโร (สีทะ). (2553). ศึกษาวิเคราะห์วิธีการสอนของพระพุทธพจนวราภรณ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรเมธี และ คณะ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564 การนำ นโยบายสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์.
พระสมุทรวชิรโสภณ (โสภณ ธมฺมโสภโณ). การพัฒนาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยของคณะสงฆ์. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 2 (1), 72.
พิเชฐ ทั่งโต. (2558). บทบาทพระสงฆ์กับการจัดการป่าชุมชน:กรณีป่าชุมชนบ้านวังตามน (วัดถ้ำระฆัง). กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.