พระพุทธศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์อานนท์ อินฺทวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครู สิริบรมธาตุพิทักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระอำนาจ พุทธอาสน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัย มหามกุฎราช วิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

กลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ, อัตลักษณ์ชาติพันธุ์, การสร้างอัตลักษณ์, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์  3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ภาษา การแต่งกาย การดำรงชีวิต พิธีกรรม ศิลปวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของพระพุทธศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มีจำนวน 15 คน จำแนกออกเป็น 3 กลุ่มช่วงวัย คือ วัยสูงอายุ วัยทำงาน และวัยเด็กและเยาวชน ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ด้านบริบททางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ ในสถานการณ์ปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงตามกระแสของโลกภายนอก ผ่านกระแสบริโภคนิยม สื่อดิจิทัล  2) ด้านพระพุทธศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ พบว่า ชาวปะโอเชื่อและศรัทธาในผลของการทำความดี  เชื่อกรรมและผลของกรรม ยึดมั่นในหลักคำสอนทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง 3) ด้านอิทธิพลพระพุทธศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ พบว่า พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อชีวิต ความเชื่อ และกระบวนการขัดเกลาทางสังคมมีอิทธิพลต่อการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้อย่างชัดเจน

References

กรมป่าไม้. (30 เมษายน 2558). ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าสาละวินในท้องที่ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัด แม่ฮ่องสอน ในปี 2521 และปี 2524. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561. แหล่งที่มา: https://www.forest.go.th/measareang/senter/ annimal_salawin.htm.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: จันท์เพ็ญ.

พระณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์ (ญาณปฺปโภ).ดร. (2560). การสื่อสารเพื่อรักษาอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ปะโอ จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์ศึกษานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขานิเทศศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พระบุญญฤทธิ์ รตินฺธโร (นุชเทียน). (2550). การศึกษาเปรียบเทียบภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทกับจิตใต้สำนึกของซิกมันด์ฟรอยด์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสวัสดิ์ เฉิดฉิ้ม. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทวี ผลสมภพ และชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2531). หลักพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ยศ สันติสมบัติ. (2544). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2506). ประวัติศาสตร์ศาสนา. กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2556). อัตลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

House, J.S. (1981). Work Stress and Social Support. Reading. MA: Addison-Westey.

Woodward. Kanthryn. (1997). Identity and Difference. London: SAGE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-11