ความหลากหลายขบวนการทางศาสนาใหม่นอกกระแสหลักในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ขบวนการทางศาสนาใหม่, ศาสนา, จังหวัดเชียงใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับขบวนการศาสนาใหม่ (2) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของขบวนการทางศาสนาใหม่ที่เผยแผ่ในจังหวัดเชียงใหม่ (3)เพื่อวิเคราะห์หลักคำสอน การเผยแผ่ การเพิ่มสมาชิก และการเคลื่อนไหวทางศาสนาของขบวนการทางศาสนาใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ตามแนวคิดและทฤษฎีขบวนการทางศาสนาใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับขบวนการทางศาสนาใหม่ 5 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มราชาโยคะ (2) กลุ่มศาสนาบาไฮ (3) กลุ่มทีเอ็ม (4) กลุ่มมอร์มอน และ(5) กลุ่มโยเร เน้นการวิเคราะห์เอกสารตามแนวคิดและทฤษฎีขบวนการทางศาสนาใหม่
ผลการวิจัยพบว่า ขบวนการทางศาสนาใหม่ เป็นคำเรียกใหม่ของกลุ่มองค์กรทางศาสนาที่พัฒนาหรือปรับรูปแบบมาจากศาสนาเดิมที่เป็นศาสนาหลักของโลก เป็นคำที่เรียกแทนคำว่า “ลัทธิ” แนวคิดและทฤษฎีในการศึกษาขบวนการทางศาสนาใหม่นิยมกันอยู่ 3 วิธีการ (1) แนวการการศึกษาเน้นการอธิบาย (2) แนวการศึกษาที่เน้นการตีความ (3) แนวการศึกษาที่เน้นทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เพื่อวิเคราะห์ขบวนการทางศาสนาใหม่ทั้งหลายว่าเป็นศาสนาแนวอนุรักษ์นิยมหรือเป็นศาสนาที่ปรับตัวให้ร่วมสมัย
สำหรับขบวนการทางศาสนาใหม่ที่ดำเนินการเผยแผ่ในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 5 กลุ่มนี้มีลักษณะการผสมผสานระหว่างแนวอนุรักษ์นิยมและแนวการปรับตัวให้ร่วมสมัย กลุ่มที่เน้นการอนุรักษ์นิยมผสมผสานกับการปรับตัวให้ร่วมสมัยบ้าง คือกลุ่มราชาโยคะ กลุ่มศาสนาบาไฮ และกลุ่มทีเอ็ม กลุ่มศาสนาที่เน้นการปรับตัวให้ร่วมสมัยผสมผสานกับการอนุรักษ์นิยมบ้าง คือกลุ่มโยเร และกลุ่มมอร์มอน กลุ่มที่เน้นการเผยแผ่และการเพิ่มสมาชิกและการบริหารองค์กรอย่างเป็นระบบจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้แก่กลุ่มโยเรและกลุ่มมอร์มอน
References
ดวงฤทัย ไก่แก้ว . (2549) . กำเนิดท่านเมชุซามะผู้ช่วยโลก . สวรรค์บนพื้นพิภพ. 20 (223), 33.
บราห์มา คูมาริส. (2530). ราชาโยคะ ความรู้เพื่ออำนาจแห่งความสงบสุข. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิบราห์มากุมารี ราชาโยคะ.
ฤาษีพุทธจรัล. (2548). ประเพณีบรมครูศักดิ์สิทธิ์. เชียงใหม่: มูลนิธิโพธิสัจจธรรม.
สมาคมสภากลางศาสนาบาไฮ. (2526). ศาสนาบาไฮ. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสภากลางศาสนาบาไฮ.
ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย . (2550). พระคัมภีร์มอร์มอน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย.
ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า . (2561) . ลัทธิเซไคคิวเซเคียว : การเข้ามาและการเผยแผ่ในประเทศไทย . Kasetsart Journal of Social Sciences. 37 (2), 212-226.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล . (2551). มานุษยวิทยาศาสนา : แนวคิดพื้นฐานและข้อถกเถียงทางทฤษฎี. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Saliba, John A. (2003). Understanding New Religious Movements. Newyork : Altamira.
Wilson Bryan . (1980). The Social impact of New Religion Movements. New York : The Ros of Sharon Press.