การสืบทอดและการสร้างงานช่างพุทธศิลป์ล้านนา : กรณีศึกษางานช่างฝีมือพระเบญจิมิน สุตา จากงานพุทธศิลป์วัดหาดนาค ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การสืบทอดและการสร้างงานช่างพุทธศิลป์ล้านนาบทคัดย่อ
การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง การสืบทอดและการสร้างงานช่างพุทธศิลป์ล้านนา: กรณีศึกษางานช่างฝีมือพระเบญจิมิน สุตา จากงานพุทธศิลป์วัดหาดนาค ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประวัติและพัฒนาการของพุทธศิลป์ในล้านนา 2. ศึกษาการสืบทอดและการสร้างงานช่างพุทธศิลป์ล้านนา ในวัดหาดนาค ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ผลจากการศึกษา พบว่า
ประวัติและพัฒนาการพุทธศิลป์ในล้านนา เริ่มจากการก่อตั้งอาณาจักรล้านนา พบพุทธศิลป์เชียงแสนคือ พระสิงห์ ต่อมาแคว้นหริภุญชัยพระนางจามเทวีได้กลุ่มช่างฝีมือจากเมืองลพบุรีเป็นอิทธิผลการสร้างงานช่างพุทธศิลป์แบบทวาราวดี เมืองเชียงใหม่สมัยพญากือนา พุทธศิลป์ได้รับอิทธิผลจากเมืองสุโขทัย และได้สร้างวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก พุทธศิลป์คงมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก โดยได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์และเจ้าขุนมูลนาย ก่อนอาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของพม่า
การสืบทอดและการสร้างงานช่างพุทธศิลป์ คือ งานช่างไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เรียกว่า “งานช่างพุทธศิลป์” มีความมุ่งหมาย ในการสสร้างและฝึกหัดงานช่างพุทธศิลป์ให้กับพระภิกษุสามเณร และบรรดาลูกศิษย์ที่สนใจ เพื่อ 1. เป็นพุทธบูชา 2. เพื่อการศึกษาพุทธศิลป์ 3. เพื่อเอาพุทธศิลป์กลับเข้ามาสู่วัด และทำให้ทราบการสืบทอดงานช่างพุทธศิลป์ในวัดหาดนาค ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสร้างและการสืบทอด โดยผ่านการศึกษาทางเลือกหรือการศึกษานอกระบบที่ยังมีอยู่ในแขนงงานช่างพุทธศิลป์ถึงปัจจุบัน
References
โชติ กัลยาณมิตร. (2542). ช่างไทยต่อการสืบทอด. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม 4. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
พัทยา สายหู. (2542). การศึกษาในวิถีชีวิตไทย. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม 1 กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทลัย.(2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิฑูรย์ เหลี่ยวรุ่งเรื่อง. (2543). สถาปัตยกรรมเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วุฒิชัย มูลศิลป์. (2539). เมื่อเริ่มการปฏิรูปการศึกษา สมัยรัชกาลที่ 5 – 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
สมพร ไชยภูมิธรรม. (2543). ปางพระพุทธรูป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ต้นธรรม.
สิริวัฒน์ คำวันสา. (2534). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสถียร โพธินันทะ. (2539). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. ฉบับมุขปาฐะ ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.