ความสามารถในการคิดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่เรียนด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้เสริมด้วยคำถามระดับสูงในวิชาวิทยาศาศาตร์

ผู้แต่ง

  • อภิชญา คำวัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสืบเสาะหาความรู้เสริมด้วยคำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการคิด ซึ่งประกอบด้วยการคิดวิเคราะห์และการคิดสังเคราะห์  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านใหม่สารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสืบเสาะหาความรู้เสริมด้วยคำถามระดับสูง เรื่อง แรงและความดัน จำนวน 6 แผน แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ (KR-20 = 0.75) และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน (KR-20 = 0.73) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการคิดสังเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสืบเสาะหาความรู้เสริมด้วยคำถามระดับสูงสูงขึ้น 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง แรงและความดันของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสืบเสาะหาความรู้เสริมด้วยคำถามระดับสูงมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

References

คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงาน และวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). รายงานการสังเคราะห์แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สำนักงาน. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

วิชาการ. กรม. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29