บทบาทของพระพุทธิญาณมุนีในการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน บ้านสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
บทบาท, พระพุทธิญาณมุนี, การบริหารจัดการวัด, ชุมชนบทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของพระพุทธิญาณมุนี ในการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนบ้านสบคำ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการวัด ให้เป็นศูนย์กลางชุมชน บ้านสบคำ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาจำนวนทั้งหมด 15 ท่าน ได้แก่ เจ้าอาวาส พระภิกษุ สามเณร คณะกรรมการวัด การเก็บข้อมูลคือ การสำรวจพื้นที่วิจัย การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของการพรรณนาตามปรากฏการณ์ที่พบเห็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการปกครอง ใช้หลักเมตตาธรรม เมตตา กรุณา อุเปกขา 2) ด้านการเผยแผ่ธรรม ให้ความสำคัญของการเผยแผ่ธรรม ทั้งศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จนเกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดปฏิปทาความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น 3) ด้านการศาสนศึกษา จัดตั้งโรงเรียน สรรหาแหล่งทุนทรัพย์และบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มาสอนพระภิกษุสามเณร 4) ด้านศึกษาสงเคราะห์ อุปถัมภ์การศึกษาของพระภิกษุ สามเณร และนักเรียนที่ยากจน มอบทุนการศึกษาแก่สถานศึกษาต่าง ๆ 5) ด้านสาธารณูปาการ ก่อสร้าง ทำนุบำรุง ศาสนสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ 6) ด้านสาธารณสงเคราะห์ สนับสนุนกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พร้อมกิจกรรมสาธาณประโยชน์ 7) ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมศิลปวัฒธรรม ฟื้นฟูศิลปะพื้นบ้าน วัฒธรรมพื้นบ้าน สร้างศูนย์ศิลปาชีพ ส่วนด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ เป็นระยะเวลา 32 ปี จนได้รับรางวัล “ลูกโลกสีเขียว” ซึ่งเป็นสิ่งรับรองความสำเร็จในการอนุรักษ์ป่าไม้
สำหรับปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการวัดทั้ง 7 ด้าน พบว่ามีปัญหาขาดแคลนทางด้านบุคลากรเป็นส่วนใหญ่
References
นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2545). พัฒนาบุคลิกผู้นําและนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5 แก้ไขและเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.
น้อย ลายคราม และสุบรรณ จันทบุตร. (2539). หลักการบริหารและจัดการวัดในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.
พุทธทาสภิกขุ. (มปป).การบริหารธุรกิจแบบพุทธ. กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย.
พระครูใบฎีกาถาวร สุรปญฺโญ (เสนสอน). (2554). การศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ : ศึกษาเฉพาะกรณีทบาทของพระนิภากรโสภณ (ไกร ฐานิสฺสโร) วัดหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระครูประภัสร์สิทธิคุณ (ปภสฺสโร) (2556). บทบาทของพระสงฆ์ด้านการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อำเภอจตุรพักตรพิมานจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาสมชาย สนฺติกโร (ชุ่มจิต). (2556). บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้าน สาธารณูปการของวัดในจังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย มหามกุฏ ราชวิทยาลัย.
พระสุดใจ ธมฺมโชโต (เนาวพันธ์). (2551). บทบาทของพระราชธรรมสุธี (สมปอง ปญฺญาทีโป). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระสมพาน พุทฺธสโร (สันวิราช). (2556). บทบาทการพัฒนาวัดของพระศรีปริยัตยาภรณ์ (กลีบ วรปญฺโญ) วัดพัฒนาราม ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏ์ธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล. (2539). การบริหารวัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอชเอพี เพรส จำกัด