ศึกษาการบำบัดฟื้นฟูกลุ่มอาการเส้นเลือดในสมองตีบ/อุด ตันโดยการนวดแผนไทยของโรงพยาบาลชุมชนตำบลดอนแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กัญญาณัฏฐ์ สุริยะวงค์

คำสำคัญ:

การบำบัดฟื้นฟู, กลุ่มอาการเส้นเลือดในสมองตีบ/อุดตัน, การนวดแผนไทย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ 1) ) ศึกษาการบำบัดฟื้นฟูกลุ่มอาการเส้นเลือดในสมองตีบ/อุดตันโดยการนวดแผนไทยของโรงพยาบาลชุมชนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาคุณภาพการบำบัดฟื้นฟูกลุ่มอาการเส้นเลือดในสมองตีบ/อุดตันโดยการนวดแผนไทยของโรงพยาบาลชุมชนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย 25 ท่าน คือ ผู้อำนวยการ แพทย์แผนไทยและบุคลากรแผนไทย และ ผู้ป่วยกลุ่มอาการเส้นเลือดในสมองตีบ/อุดตัน จากศูนย์บำบัดฟื้นฟูฯจังหวัดเชียงใหม่ การเก็บข้อมูลคือ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม บันทึกข้อมูล การสัมภาษณ์  การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำผลมาวิเคราะห์ในรูปการพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1.แนวทาง และวิธีการบำบัดฟื้นฟู  การบำบัดใช้แนวทางการนวดแผนไทยโดยวิธีการนวดแบบราชสำนักและการนวดแบบเชลยศักดิ์ เป็นกระบวนการดูแลบำบัดสุขภาพแบบแพทย์แผนไทย โดยการสัมผัส  อย่างมีหลักการ ภายใต้ระยะเวลา

2.คุณภาพในการการบำบัดฟื้นฟูกลุ่มเส้นเลือดในสมองตีบ/อุดตันโดยการนวดแผนไทย  ซึ่งผลการบำบัดฟื้นฟูอยู่ในระดับดีมาก  การนวดแผนเน้นใช้ความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรแผนไทยรวมถึงแนวทาง และวิธีการปฏิบัติ ตามหลักการบำบัดฟื้นฟู พร้อมอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่มีประสิทธิภาพ ต่อการรักษาบำบัด

ปัญหาและอุปสรรค คือ การบริหารแนวทางการบริการและบุคลากรการแพทย์แผนไทย

References

เขียน วันทนียตระกูล. (2551). รายงานโครงการอนุรักษ์หมอเมืองล้านนา กิจกรรมอบรมความรู้เกี่ยวข้องกับหมอเมืองล้านนา และ การใช้สมุนไพร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. เชียงใหม่ : ส ทรัพย์การพิมพ์.

ถวัลย์ มงคลจรัส. (2546). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

มานพ ประภาษานนท์. (2549). นวดไทยสัมผัสบำบัดเพื่อสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. มติชน.

สถาบันการแพทย์แผนไทย. (2545). คู่มือการนวดแผนไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันการแพทย์แผนไทย. (2547). กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. (2558-2559). การพัฒนางาน การดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู(Sub-acute Rehabilitation) และถอดบทเรียนการดำเนินงาน ในสังกัดกระทรวง.สาธารณสุข. สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุข.

สารานุกรมรอบรู้ รอบโลก. (2547). การแพทย์และสุขภาพร่างกาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย).

สำนักงานโครงการสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. (2556). สถานีอนามัย+โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ:จากนโยบายสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพาณิชย์.

พุทธินันท์ พินศิริกุล. (2554). ปัจจัยที่มีต่อผลการยอมรับการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทการนวดไทยของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมบัติ มุ่งทวีพงษา. (2555). ทบทวนบทความวิชาการ. (Stroke Networks and stroke fast track). จุลสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27