การนำหลักพรหมวิหารธรรม ไปปฏิบัติในการสอนของครู โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การนำหลักพรหมวิหารธรรม, การนำหลักพรหมวิหารธรรมไปปฏิบัติใช้ในการสอนของ ครูบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการนำหลักพรหมวิหารธรรม ไปปฏิบัติในการสอนของครู 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการนำหลักพรหมวิหารธรรม ไปปฏิบัติในการสอนของครู 3) เพื่อศึกษาประโยชน์ของการนำหลักพรหมวิหารธรรมไปปฏิบัติในการสอนของครู วิธีการศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจำนวน 12 คน ประกอบด้วย 1) ครูประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ 10 คน 2) ครูอนุบาล จำนวน 2 คน และงานเขียนต่างๆ แล้วนำมาอธิบายเพื่อให้สอดคล้องตามลำดับของงานวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1) ครูมีการนำหลักพรหมวิหารธรรมไปปฏิบัติในการสอนโดยมีอัธยาศัยที่ดี มีน้ำใจต่อผู้เรียน ไม่ใช่อำนาจกับผู้เรียนเกินขอบเขต ใช้วิธีการสร้างขวัญกำลังใจ ยกย่องชมเชย มีความตรงต่อเวลาในการสอน มอบหมายงานตามความรู้ความสามารถ และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ 2) ครูไม่สามารถแสดงความเมตตากับนักเรียนทุกคนได้เท่าที่ควร เพราะนักเรียนแต่ละคน มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน นักเรียนมักไม่ค่อยสนใจในการเรียน และนักเรียนไม่ค่อยกลัวครูลงโทษ ทำให้ไม่เชื่อฟังครูเท่าที่ควร 3) ประโยชน์จากการนำหลักพรหมวิหารธรรมไปปฏิบัติในการสอนทำให้นักเรียนเกิดความรัก และเชื่อฟังในการอบรมสั่งสอน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อครู เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองที่ได้รับคำชื่นชม ครูมีความเป็นกลางในการตัดสินปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
References
พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต. (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่13. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส. อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
พระณัฐวุฒิ ปญฺญาคโม (ไทยลา). (2552). "หลักพรหมวิหารธรรมในการปฏิบัติงานของครู : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเมืองพันชาติ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด". วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาทวน นวลสาย. (2544). "ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม". รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระปลัดคำภา สิมบิดา. (2552). "การใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในกลุ่ม 7". วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พระมหาสุทธิชัย ฐิตชโย (ถาวรศิล). (2546). "ศึกษาเชิงวิเคราะห์พรหมวิหาร 4 ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา". วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.