ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดในการสร้างเจดีย์พุทธคยาจำลอง วัดจองคำ

ผู้แต่ง

  • พลวัจน์ - รุ้งดีสุนทรวงษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • โผน นามณี มหาวิทยาลัย มหามกุฎราช วิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัย มหามกุฎราช วิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

แนวคิด, การสร้างเจดีย์พุทธคยาจำลอง, วัดจองคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างเจดีย์พุทธคยาจำลอง วัดจองคำ อำเภองาว จังหวัดลำปาง 2.เพื่อศึกษาวิธีการสร้างเจดีย์พุทธคยาจำลอง วัดจองคำ อำเภองาว  จังหวัดลำปาง 3.เพื่อศึกษาคุณค่าและประโยชน์ในการสร้างเจดีย์พุทธคยาจำลอง วัดจองคำ อำเภองาวจังหวัดลำปาง ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการเลือกโดยเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย เจ้าอาวาสวัดจองคำ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส 4 รูป  ผู้ควบคุมการก่อสร้าง 1รูปผู้ติดต่อประสานงาน 1 คนวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง 1 คน  ช่างทำแบบลวดลาย 1 คน  หัวหน้าช่างก่อสร้าง1 คนและ ผู้มาสักการะพระมหาเจดีย์พุทธคยาจำลอง 25 คน รวมทั้งหมด35 รูป/คน

สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากการวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลจึงใช้การวิเคราะห์พรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1.แนวคิดการสร้างเจดียพุทธคยาจำลอง เกิดจากการสร้างถวายเป็นพุทธบูชา สร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และอนุเคราะห์แก่พุทธศาสนิกชน2.วิธีการสร้างเจดีย์พุทธคยาจำลองนั้นฐานรากจะใช้แบบฐานแผ่และถอดรูปแบบจากพระมหาเจดีย์พุทธคยาองค์จริง   3.คุณค่าและประโยชน์ในการสร้างเจดีย์พุทธคยาจำลองนั้นมีประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนคนไทย

คำสำคัญ  แนวคิด, การสร้างเจดีย์พุทธคยาจำลอง, วัดจองคำ

References

ประพันธ์ กุลวินิจฉัย.(2555). วิเคราะห์เรื่องพระพุทธรูปในฐานะปูชนียวัตถุของชาวพุทธ. งานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิสูตร จิละดำเกิง. (2548). การบริหารงานก่อสร้าง. กรุงเทพมหานคร: วรรณกวี.

พนม ภัยหน่าย. (2548). การบริหารงานก่อสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ยี่ปุ่น).

พิบูลย์ ลิ้มพานิชย์.(2549). อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการสร้างเจดีย์ในสมัยสุโขทัย.วิทยนิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมคิด จิระทัศนกุล. (2554). รู้เรื่องวัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย. นนทบุรี: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ญาณภัทร ยอดแก้ว. (2552). ทัศนคติที่มีต่อการบูชาพระพุทธรูปในสังคมไทย. งานวิจัยคณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-22