การศึกษาวิเคราะห์วิบากกรรมของบุคคลตามที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท
คำสำคัญ:
วิบากกรรม;, บุคคล, คัมภีร์อรรถกถาบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิบากกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิบากกรรมของบุคคลตามที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท 3) เพื่อวิเคราะห์วิบากกรรมของบุคคลตามที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท ผลการวิจัยพบว่า
1) วิบากกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) กุศลวิบาก เป็นวิบากกรรมที่ดี ให้ผลเป็นความสุข (2) อกุศลวิบาก เป็นวิบากกรรมที่ไม่ดี ให้ผลเป็นความทุกข์
2) วิบากกรรมของบุคคลมีทั้งวิบากกรรมของพระพุทธเจ้า พระสาวก พระสาวิกา อุบาสก อุบาสิกา และบุคคลทั่วไป
3) วิบากกรรมของของพระพุทธเจ้า พระสาวก พระสาวิกา และอุบาสก อุบาสิกา สรุปลงในกรรม 12 ในข้อที่ 3 และ ข้อที่ 4 ได้แก่ อปราปรเวทนียกรรม เป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่ทำในขณะแห่งชวนเจตนาดวงที่ 2-6 กรรมนี้ให้ผลได้เรื่อยไปในอนาคตเมื่อเลยจากภพหน้าไปแล้วคือได้โอกาสเมื่อใดก็ให้ผลเมื่อนั้น ไม่เป็นอโหสิกรรมตราบเท่าที่ยังอยู่ในสังสารวัฏการให้ผลของกรรมนี้ และอโหสิกรรม จึงเป็นกรรมที่เลิกให้ผลหรือไม่มีผลหมายถึงกรรมที่ไม่ได้มีวิบากแล้ว (ในอดีต) จักไม่มีวิบาก (ในอนาคต) และย่อมไม่มีวิบาก (ในปัจจุบัน)
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2547). ธมฺมปทฏฺฐกถา (ปฐโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.