สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง : พลวัตภาคประชาสังคมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำอิง

ผู้แต่ง

  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

สภาประชาชน, พลวัต, ภาคประชาสังคม, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ , ลุ่มน้ำอิง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง : พลวัตภาคประชาสังคมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำอิง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการและบทบาทของภาคประชาสังคม 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง และ 3) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของสภาประชาชนลุ่มน้ำอิงอย่างบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานของโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายและหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อการจัดการลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย

ผลการวิจัยพบว่า ภาคประชาสังคมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำอิง มีพัฒนาการที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ และการพัฒนาในแม่น้ำสาขาของลุ่มน้ำอิงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นกลไกหลักร่วมกับภาคประชาชน ภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายหลังมีการยกระดับการทำงานในรูปแบบสภาประชาชน โดยกระบวนการพัฒนาสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพสภาประชาชน การพัฒนาพื้นที่รูปธรรม การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ การรณรงค์ด้านนโยบายระดับชาติและระดับท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำอิง ในการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำอิงอย่างบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้ยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจชุมชนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติ และยุทธศาสตร์ด้านสังคมและการมีส่วนร่วม

References

กิ่งกร นรินทรากุล ณ อยุธยา. (2543). แนวคิดและทิศทาง : การจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน. เชียงใหม่ : บีเอสการพิมพ์.

ไกรทอง เหง้าน้อย. (2560). ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายและหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อการจัดการลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน. สัมภาษณ์. 10 พฤศจิกายน.

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล.  กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โครงการพะเยาเพื่อการพัฒนา. (มปป). การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิง. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

โครงการเสริมสร้างเครือข่ายท้องถิ่นและหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อการจัดการลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน. (2560). บทเรียนการจัดการทรัพยากรของชุมชนในลุ่มน้ำอิง. กรุงเทพมหานคร : fluke graphic design and printing.

เตชะภัฒน์ มะโนวงค์. (2560). เลขาธิการสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง. สัมภาษณ์. 10 กันยายน และ 21 ธันวาคม.

ถนอม อุตมะ. (2559). ประธานสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง. สัมภาษณ์. 30 กันยายน.

ธีระพงศ์ โพธิ์มั่น. (2559). ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 30 กันยายน.

นิวัฒน์ ร้อยแก้ว. (2560). ที่ปรึกษาสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง และประธานกลุ่มรักษ์เชียงของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์. 6 กุมภาพันธ์.

นุชจรีย์ สิงคราช. (2560). เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการองค์ความรู้และข้อมูล โครงการเสริมสร้างเครือข่ายท้องถิ่นและหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อการจัดการลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน. สัมภาษณ์. 12 ตุลาคม.

ประสิทธิ์ จินะใจหาญ. (2560). กรรมการสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง. สัมภาษณ์. 10 กันยายน และ 21 ธันวาคม.

พิษณุกรณ์ ดีแก้ว. (2559). เจ้าหน้าที่สนาม สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 30 กันยายน
สหัทยา วิเศษ. (2545). ลุ่มน้ำอิง. พะเยา : โรงพิมพ์เจริญอักษร.

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต. (2558).วังสงวนในลุ่มน้ำอิง : การจัดการเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาโดยชุมชนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำและวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำอิง. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต. (2560). ป่าชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงตอนล่างและการจัดการโดยชุมชนท้องถิ่น. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต. (2558.). การสำรวจเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาในลุ่มน้ำอิง. (เอกสารอัดสำเนา).

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต. สรุปผลการประชุมสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง วันที่ 15 มิถุนายน 2556 ณ วัดบ้านปางมดแดง ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัด พะเยา.

สมเกียรติ เขื่อนเชียงสา. (2559). ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงล้านนา อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์. 30 กันยายน.

สายัณห์ ข้ามหนึ่ง. (2559). ผู้ประสานงานสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 30 กันยายน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-22