การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วิสุทธิชัย ไชยสิทธิ์
  • ปั่น อะทะเทพ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ศศินันท์ สรรพกิจจำนง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานที่จำเป็น, การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานที่จำเป็น, นิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

บทความนี้เรียบเรียงจากรายงานวิจัยเรื่อง พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนิสิตบรรพชิตและคฤหัสถ์ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาคปกติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่  จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ ตำราประกอบการสอนจำนวน 5 บทเรียน  แบบทดสอบผลการเรียนรู้แต่ละบทเรียน (Formative tests) และแบบทดสอบก่อน-หลังการเรียนการสอน (Pretest-Posttest) สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับหลังเรียน ใช้สถิติทดสอบที (t-test dependent) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการสอบย่อยในแต่ละบท (Formative tests) ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลของการศึกษาพบว่า นิสิตมีทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานที่จำเป็นหลังการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนิสิต 30 คน มีผลการทดสอบย่อยในแต่บทผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 88.24 สำหรับปัจจัยต่าง ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนิสิต ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจภายในและภายนอก การเลือกรูปแบบการสอนที่เหมาะสมและบทบาทของผู้สอน

References

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2543).จำเป็นต้องรังสรรค์การศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์.

ไพศาล วรคำ. (2554). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2549). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2557). คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2543). รูปแบบการเรียนและสอน:ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นวันที่อ 20 ตุลาคม 2559, แหล่งที่มา https://www.google.co.th/search?q=ทิ+วัตถ์+มณี+โชติ

วีระ ไทยพานิช. (2551). 57 วิธีสอน. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิริพร ศรีสมวงษ์. (2549). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัน แผนกประถม. สารนิพนธ์ กศ.ม.(การประถมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

แสงสุรีย์ สำอางค์กูล. (2543). จิตวิทยาบุคลิกภาพยุคสหัสวรรษ. เล่ม3. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่: ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Ausubel, D.P. (1968). Educational psychology. A cognitive view. New York: Hol, Rinehart & Winston.

Bloom, B.et all. (1959). Taxonomy of education objectives: The classification of educational goals. New York: Longman,Green and Co.,Inc.

Chomsky, N. (1957). Syntactic structures. The Hagne, Netherlands: Mouton.

Dewey, J. (1993). How we think. New York: D.C. Health and Company.

Krashen, S. (1985). The input hypothesis: Issues and implication. London: Longman.

Maslow, A.H. (1990). Motivation and personality. New York, Evanston, and London: Newbury House Publisher.

Oxford, R.L. (1990). Language learning strategies: What every teacher should know. New York: Newbury House Publisher.

Supakitjumnong, S. (2007). The development of metacognitive strategies to promote the English learning ability of university students. Ph.D.’s Dissertation Department of Instruction and Curriculum. Faculty of Education: Chiangmai University.

Wisuttichai Chaiyasit. (2016).The Problems of Teaching English Grammar in Undergraduate Level at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand. Ph.D.’s Dissertation Department of English. Manipur University: India.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-04