ปรัชญาอาหารใน โชจิน เรียวริ

ผู้แต่ง

  • Piyamas Jaifai

คำสำคัญ:

โชจิน เรียวริ, ปรัชญาเซน, อาหารเซน, พุทธศาสนามหายาน

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง ปรัชญาอาหารใน โชจิน เรียวริ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ โชจิน เรียวริ ผ่านกรอบคิดของปรัชญาเซน วิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อภิปรัชญาใน โชจิน เรียวริ โดยชื่อแปลว่า อาหารมังสวิรัติแห่งจิตวิญญาณ พุทธศาสนานิกายเซนเชื่อในความเป็นหนึ่งแห่งจิตโดยเรียกว่า พุทธภาวะ แม้แต่ในอาหารและส่วนประกอบต่างๆจึงเป็นพุทธภาวะด้วย ญาณวิทยาใน โชจิน เรียวริ แสดงผ่านการปฏิบัติแบบเซนที่มุ่งสู่แนวคิดเรื่องทวิลักษณ์ระหว่างผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ ดังนั้น กิจกรรมในชีวิตประจำวันทั้งหมดสามารถเป็นเครื่องมือไปสู่การตื่นรู้แบบเซนได้ จริยศาสตร์ใน โชจิน เรียวริ สื่อผ่านท่าทีที่เคารพและเรียบง่ายต่อชีวิตทั้งมวลและอาหารด้วย เพราะทุกอย่างมีคุณค่าในตัวเองผ่านที่เรียกว่าพุทธภาวะนี้เอง ในการจัดเตรียมอาหารต้องคำนึงถึงความเรียบง่ายซึ่งเทนโซจะต้องเอาใจใส่ในการรู้จักฤดูกาลและรสต่างๆ ของอาหารและในการปรุงต้องระมัดระวังไม่ให้เสียรสชาติดั้งเดิมของอาหารนั้นๆ ส่วนจริยศาสต์การรับประทานอาหารของเซนยืนอยู่บนฐานของการเคารพในความเสียสละของอาหารเหล่านั้น ส่วนการลิ้มรสไม่ควรตัดสินจากความพึงพอใจ ควรรับรู้รสทั้งหมดที่สามารถเป็นไปได้ในอาหาร และต้องปราศจากขยะอาหารตลอดกระบวนการของการเตรียมและการรับประทาน

References

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ วันจันทร์). (2556). พุทธปรัชญา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมภาร พรมทา. (2546). พุทธศาสนานิกายเซน การศึกษาเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2550). มหายาน : ภาษาคน – ภาษาธรรม. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์, 2550.

_________. (2546). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร: ศยาม.

เสถียร พันธรังสี. (2543). พุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

Arai, P.K.R. (1999). Woman Living Zen: Japanese Soto Buddhist Nuns. New York-Oxford: Oxford University Press.

Ashkennazi, M. and Jacob, J. (2003). Food Culture in Japan. Connecticut: Greenwood Press.

Chapple, C.K. (1993). Nonviolence to Animals, Earth, and Self in Asian Traditions. Albany: State University of New York Press.

Eihei Dogen Zenji. (1996). Tenzo Kyokun. Anzan Hoshin roshi and Yasuda Joshu Dainen Roshi Paul, tr. in Cooking Zen, Ontario: Great Matter Publications.

Kapleau, P. (1986). To Cherish all Life: A Buddhist Case for Becoming Vegetarian. The 2nd Edition. New York: The Zen Center.

Maurer, D. (2002). Vegetarianism: Movement or Moment. Philadelphia: Temple University Press.

Michalowska, J.M., (2008). Vegetarian Foodways: A Cross-Cultural Perspective. Master’s Thesis. University of Oslo.

Thich Nhat Hanh and Lilian Cheung. (2010). Savor: Mindful Eating, Mindful Life. New York: HarperCollins Publishers.

Suzuki, D.T. (1972). The Doctrine of no Mind. London: Liho on Smooth Paper.

__________. (1975). Studies in Lankavatara Sutra. London: Routledge and Kegan.

__________. (1978). Studies in Zen. Christmas Humphreys, ed. New York: Dell Publishing.

_________. (1985). Essay in Zen Buddhism. London: Rider.

Yoneda, S. (1998). “About Zen Temple Food”. In Zen Vegetarian Cooking. Yoneda, S. and Hoshino, K. Tokyo-New York-London: Kodansha International.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-13