คุณค่าการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะของชาวไทขืน ในเมืองเชียงตุง
คำสำคัญ:
เวสสันตรชาตกะ, ชาวไทขืน, เชียงตุงบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะ ของชาวไทขืนในเมืองเชียงตุง 2. เพื่อศึกษาสำนวนและทำนองการเทศน์ธัมม์เวสสันตรชาตกะ ของชาวไทขืน ในเมืองเชียงตุง 3. เพื่อศึกษาคุณค่าของการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะ ของชาวไทขืน ในเมืองเชียงตุง ผลการศึกษาพบว่า การตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะไม่ปรากกฏหลักฐานที่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นเมื่อใดแต่สันนิษฐานได้ว่าเริ่มตั้งแต่สมัยพญาผายูได้บัญชาให้เจ้าเจ็ดพันตูราชบุตรมาปกครองเมืองเชียงตุง พ.ศ. 188 และพบหลักฐานจดบันทึกของคัมภีร์ธัมม์เวสสันตรชาตกะถูกแต่งขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2365 – 2365 โดยเจ้าฟ้ามหาขนาน เจ้าฟ้าผู้ปกครองเมืองเชียงตุง มีการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะอย่างยิ่งใหญ่และถวายคัมภีร์ธัมม์มหาชาติ 110 ชุด ในด้านสำนวนและทำนอง แบ่งเป็น 2 สำนวน คือสำนวนร้อยแก้วและสำนวนร้อยกรอง สำนวนร้อยแก้วมีลักษณะเป็นความเรียงธรรมดา สำนวนร้อยกรองจะแต่งเป็นฉันทลักษณ์มีสัมผัสนอกและสัมผัสในอย่างสวยงาม ส่วนทำนองของการเทศน์มีอยู่ 2 วิธี คือการเทศน์แบบธรรมวัตร และทำนองการเทศน์ธัมม์มหาชาติ
ในด้านคุณค่าของการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะ นักปราชญ์ผู้แต่งมหาชาติในเชียงตุงได้นำเอาหลักธรรมสอดแทรกในเนื้อธรรมมหาชาติมีการผสมผสานเชื่อมโยงกับสภาพวิถีชีวิต จารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทขืนในเมืองเชียงตุงได้อย่างกลมกลืน จึงเกิดคุณค่ามากมายในการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะ ของชาวไทขืน ในเมืองเชียงตุง
References
แสง มนวิทูร. (2519). ความเป็นมาเกี่ยวกับพุทธศาสนาในล้านนา ใน จุลสารโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.
พลเอกสายหยุด เกิดผล. (2538). เชียงตุง และ ข้อคิด เขียน พูด ทำ ของพลเอกสายหยุด เกิดผล เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2530). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Tu ya min aung. (2553) Myan-mar-to-ei-sahe-nai-ngan พิมพ์ครั้งที่ 2. ย่างกุ้ง: สำนักพิพม์ Shwe-pe-song.
กรณัฐ รัตนยรรยง. (2554). ประเพณีการตั้งธรรมเวสสันตระของชาวไทขึน เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและสาละวินศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ณัฐพงศ์ ปิ่นโมรา. (2548). อะลองพระโพธิสัตว์ไทขึน รวบรวมจากวิทยานิพนธ์ “อะลอง” พระโพธิสัตว์เจ้าในวรรณกรรมไทขืน. เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพิน ฤทธิ์เพ็ญ. (2539). สุชะวัณณะวัวหลวง: การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทที่มีต่อสังคม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนา (บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.