ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำประกันสุขภาพตามหลักพุทธธรรมของพระสงฆ์ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การตัดสินใจ, สุขภาพ, พุทธธรรมบทคัดย่อ
วิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำประกันสุขภาพตามหลักพุทธธรรมของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการรักษาสุขภาพ รูปแบบการรักษาพยาบาล และผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพตามแนวทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำประกันสุขภาพตามหลักพุทธธรรมของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลในรูปของตารางประกอบการบรรยาย
ผลการศึกษาวิจัย ดังนี้ 1) หลักการรักษาสุขภาพตามแนวทางพระพุทธศาสนา พบว่า ด้านการใช้หลักพระพุทธศาสนารักษาสุขภาพเมื่อยามเจ็บป่วย พบว่า พระสงฆ์ที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เคยใช้หลักพระพุทธศาสนาในการรักษาสุขภาพ ด้านวิธีการรักษาด้วยหลักพระพุทธศาสนาเมื่อยามเจ็บป่วย พบว่า เลือกพิจารณาภัตตาหารก่อนฉัน ใช้วิธีสมาธิบำบัด 2) รูปแบบการรักษาพยาบาลของพระสงฆ์ในปัจจุบัน พบว่า เกี่ยวกับสถานที่รักษา พบว่า จะเลือกเข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลของรัฐ และเข้ารับการรักษาที่คลินิก เกี่ยวกับสวัสดิการที่ใช้ในการรักษาพยาบาล พบว่า เมื่อยามอาพาธจะเลือกใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นหลักและใช้สิทธิจากประกันชีวิต 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำประกันสุขภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำประกันสุขภาพตามหลักพุทธธรรมของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ระดับความสำคัญของปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจทำกรมธรรม์ประกันสุขภาพของพระสงฆ์ โดยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีระดับความสำคัญของปัจจัยเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสำคัญมากทุกด้าน
References
และราชกิจจานุเบกษา.
ข่าวสด. (2559). ร.พ.สงฆ์เผยข้อมูลโรคฮิตพระอาพาธ ไขมัน-ความดันโลหิต-เบาหวาน-ไต-ข้อเข่าเสื่อม.
ข่าวสดรายวัน, 26 (9372).
จงจิตร อังคทะวานิช. ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์. วาสินี วิเศษฤทธิ์. จินต์จุฑา ประสพธรรม. ดลพรรษ
พันธุ์พาณิชย์. (2559). สถานการณ์ปัญหาโภชนาการในพระสงฆ์จากโครงการ “สงฆ์ไทย
ไกลโรค”. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ปัญญมิตร การพิมพ์ จำกัด.
จงจิตร อังคทะวานิช. วาสินี วิเศษฤทธิ์. อารยา แสงเทียน. พิจาริณ สมบูรณกุล. (2557). รายงานฉบับ
สมบูรณ์ การศึกษาวิถีชีวิต ลักษณะอาหาร ภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ สามเณรและ
ฆราวาส: ในบริบท 4 ภูมิภาคประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ช่อระกาการพิมพ์.
ฤชุกรณ์ เดิมทอง. (2554). ผลของโรคเบาหวานในภิกษุโรคหลอดเลือดสมอง. พุทธชินราชเวชสาร, 28 (3).
เรวัต วิศรุตเวช. (2559). เช็คสุขภาพพระ 55.5% ภาวะเสี่ยงเป็นโรค. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
https://www.4life-network.com/index.php?lite=article&qid=599803 [1 กันยายน 2559].
สุวัฒสัน รักขันโท และคณะ. (2551). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระภิกษุในเขตภาคใต้ตอนบน.
รายงานการวิจัย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า,[ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
https://stream.nhso.go.th/portals/0/library/library09.pdf [1 กันยายน 2559].