วิเคราะห์เรื่องสื่อบุคคลในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระโยธกา บุญมาวงษา

คำสำคัญ:

สื่อบุคล, การเผยแผ่, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวความคิดเรื่องสื่อบุคคล 2) เพื่อศึกษาสื่อบุคคลกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และ3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สื่อบุคคลในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาแบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดสื่อบุคคลในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การนำธรรมะไปสู่ประชาชน เพื่อให้เขาเหล่านั้น ได้มีความรู้ความสามารถ ได้นำไปปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ อันก่อให้เกิดความสงบสุขแก่ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมะ และแก่สังคมโดยทั่วไป มีจิตเลื่อมใสในคำสอนและจดจำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อพัฒนากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากความชั่วร้าย ตามทฤษฎีการสื่อสาร ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง ผู้รับสาร ในการศึกษาสื่อบุคคลจากพระภิกษุสงฆ์ที่มี วิชาจรณะและปฏิปทาสำคัญ 4 รูป ได้แก่พุทธทาสภิกขุ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) พระราชธรรมนิเทศ (พะยอม   กลฺยาโณ) และพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี จะต้องใช้ความสามารถพิเศษเฉพาะตัวเป็นหลัก ดังนั้น คุณสมบัติส่วนตัวของผู้สื่อสาร จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ หรือล้มเหลวของการสื่อความนั้นๆ

References

ปรมะ สตะเวทิน, หลักนิเทศศาสตร์.(2526 ). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ.(2549). การพัฒนาสื่อบุคคลเพื่อพัฒนาองค์กร, คณะนิเทศศาสตร์. สาขาการประชาสัมพันธ์ใ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).(2548). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).(2549). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระราชธรรมนิเทศ .(2516). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ และ ไชย ณ พล.(2537). พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์และกลยุทธการประกาศธรรมสู่โลกกว้าง.
กรุงเทพมหานคร : สถาบันธรรมาธิปไตย.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-19