ความเชื่อและพฤติกรรมของชาวพุทธที่มีต่อพระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระภูเมธ สุเมโธ

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธรูปที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาและตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา และ ๒) เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความเชื่อของชาวพุทธที่มีต่อพระพุทธรูปพระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีจัดเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน ๒๐๕ ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าความสัมพันธ์แบบ Tñtest และ Fñtest และการหาค่าสหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล (Point Biserial Correlation) ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมของผู้ที่เข้ามาในพระอุโบสถพระเจ้าเก้าตื้อ จำนวน ๑๘๓ รูป/คน และการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๑ คน

จากการศึกษาหลักความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธรูปที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาและตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา พบว่า ความเชื่อศรัทธาในพระพุทธรูปตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย หลักความเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (ตถาคตโพธิสัทธา) หลังจากนั้น จึงมีการสร้างปฏิมากรรมลอยตัวอุทิศให้พระพุทธเจ้า เรียกว่า อุเทสิกเจดีย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเคารพกราบไหว้ในฐานะเป็นพุทธานุสติ คือ เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า แต่เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในดินแดนล้านนา ซึ่งมีความเชื่อดั้งเดิมอยู่ก่อนแล้ว คือ ความเชื่อในเรื่องวิญญาณนิยม ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา และความเชื่อในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์  จึงก่อให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมขึ้น กลายเป็นความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูป โดยมีการสร้างเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์หรือเชื่อว่ามีอำนาจเหนือธรรมชาติอยู่เบื้องหลังพระพุทธรูป ซึ่งสามารถดลบันดาลพรต่างๆ ได้ เช่นเดียวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ตามที่ตนนับถือ

References

บรรณานุกรม
ดำรงราชานุภาพ. (2513). สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พุทธเจดีย์. พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร.
ติสรณี มีสมศัพท์ และ จันทสิริ ช่วยสงคราม. (2547). ประวัติพระเจ้าเก้าตื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 5, จัดพิมพ์ในงาน สมโภชพระพุทธเจ้าเก้าตื้อ และพระไตรปิฎกอักษรล้านนา.
ทิพย์สุดา นัยทรัพย์. (2535). ภาษากับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศ กรมการฝึกหัดครู.
พระครูพิพิธสุตาทร และคณะ. (2551). วัดสวนดอก พระอารามหลวง. เชียงใหม่: มรดกล้านนา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
________. (2541). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). กาลานุกรมในอารยธรรมโลก. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
________. (2538). สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวฤทธิ์ ปาฏิหาริย์. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
________. (2547). สนทนา คติจตุคามรามเทพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2547). ศาสนาเบื้องต้น. เชียงใหม่; ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2547) พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสฐียร พันธรังษี. (2535). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แสง มนวิทูร. (2518). ชินกาลมาลีปกรณ์. พิมพ์ในอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายพงษ์สวัสดิ์ สุริโยทัย 15 พฤศจิกายน 2518. กรุงเทพมหานคร: บำรุงนุกูลกิจ.
สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ และ ฮันส์ เพนธ์. (2550). พุทธศิลปกรรมในนิกายสีหฬภิกขุ พ.ศ. 1900 – 2100. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
De Waal Malefiji, Annemaric. (1968). Religion and culture : An introduction to anthropology of Religion. New York: Macmillam.
Johnstonc, Ronald L.. (1997). Religion in Society: A sociology of religion. 5th ed, New Jersey: Prentice-Hall,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-28