การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง

ผู้แต่ง

  • เจริญ นุชนิยม

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, สุขภาพ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง  มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้  1. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ  2. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและ  3. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง 

ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพได้แก่การดูแลรักษาสุขภาพของมนุษย์ต่อสุขภาพชีวิตของตนเองซึ่งรวมถึงทุกเพศ  ทุกวัย ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์ทั้ง 4  ทางคือทางร่างกายทางจิตใจ ทางสังคม และทางปัญญา  สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญกับการดำรงชีวิตของมนุษย์เราเพื่อจะส่งผลให้การดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข  ในหลักของความเป็นจริงการมีสุขภาพที่ดีเป็นสมบัติอันทรงคุณค่าของมนุษย์  ถึงแม้ว่าในยุคปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีรวมถึงเทคนิคทางการแพทย์จะเจริญรุดหน้ามากเพียงใดก็ตาม หากขาดการดูแลเอาใจใส่ที่ดีต่อสุขภาพแล้วย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของตนเอง

หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมสุขภาพ  ได้แก่การฟังธรรมนำหลักพุธธรรมไตรสิกขามาประยุกต์ใช้ได้แก่  ศีล สมาธิ   ปัญญาการทำบุญตักบาตรในวันนักขัตฤกษ์นำหลักพุธธรรมบุญกิริยาวัตถุ  มาประยุกต์ใช้ ได้แก่  ทาน  ศีล  ภาวนา  การไหว้พระสวดมนต์นำหลักพุธธรรมมาอิทธิบาท 4มาประยุกต์ใช้ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ  จิตตะ วิมังสากิจกรรมกายบริหารนำหลักพุธธรรมสติปัฏฐาน 4 มาประยุกต์ใช้ได้แก่กาย  เวทนา  จิต  ธรรมกิจกรรมนอกสถานที่นำหลักพุทธธรรมสังคหวัตถุ 4 มาประยุกต์ใช้ได้แก่  ทานปิยวาจา  อัตถจริยา  สมานัตตตา  จากหลักพุทธธรรมดังกล่าวได้มีความสำคัญต่อการเอื้อประโยชน์ที่นำมาประยุกต์ใช้กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างได้ผลเป็นที่พึงพอใจ

การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  นครลำปางนั้นเริ่มต้นด้วยพัฒนากาย  พัฒนาจิตใจ  พัฒนาด้านปัญญา  และการพัฒนาด้านสังคม  ตามหลักของพุทธธรรมช่วยให้เป็นคนรู้ระเบียบชีวิตของตนเอง  รู้จักการอยู่ร่วมกับคนอื่นด้วยการไม่เบียดเบียน  ไม่ทำความเดือดร้อน  ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลรวมถึงให้ความเอื้ออาทรต่อสังคม  เคารพความคิดเห็นของผู้อื่นไม่ทำตัวเองให้เป็นคนที่เห็นแก่ตัว  แบ่งปันความรักให้กับเพื่อนสมาชิก  มีความรับผิดชอบในหน้าที่  เนื่องจากสังคมของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ นอกจากจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพแล้ว  ทางศูนย์ก็ยังมีกิจกรรมอื่นอีกมากมายที่จะต้องบริหารจัดการให้กับสมาชิกทุกคนได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  การทำงานหรือกิจกรรมต่างๆจำเป็นต้องมีการแบ่งงานให้เหมาะสมกับสมาชิกที่มีความถนัด  เช่นกิจกรรมด้านงานสงฆ์  กิจกรรมด้านกายบริหารสุขภาพ กิจกรรมเยี่ยมผู้สูงอายุรวมถึงผู้ป่วยตามสถานที่ต่างๆ  เมื่อนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้แล้วทำให้สมาชิกทุกคนต่างมีความพึงพอใจ ต่างก็ได้ให้ความช่วยเหลือ ช่วยกันทำกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นด้วยความยินดีและพร้อมเพียง  ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรงพร้อมที่จะนำพาสมาชิกของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง  ไปสู่การพัฒนาสุขภาพที่ดีต่อไป

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. (2541). สุขภาพเพื่อชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชาติ โสมประยูร. (254). สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิต, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิสิทธิ์ วิริยานนท์, (2542). ทฤษฎีพอเพียงแห่งสุขภาพ, กรุงเทพมหานคร : กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-28