บทบาทวัดในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน: กรณีศึกษา วัดพระธาตุดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จิตติมา เสนาไชย

คำสำคัญ:

ส่งเสริมสุขภาพ, ชุมชน

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง ìบทบาทวัดในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน : กรณีศึกษา วัดพระธาตุดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่î มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาบทบาทวัดพระธาตุดอยสะเก็ดในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทวัดพระธาตุดอยสะเก็ด ในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม สามารถจัดเก็บได้จำนวน 317 ชุด และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 22 รูป/คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

บทบาทวัดในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน โดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ๓.๘๔ เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า บทบาทที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ บทบาทในการส่งเสริมสุขภาพสังคม ค่าเฉลี่ย ๓.๙๗ รองลงมาคือ บทบาทในการส่งเสริมสุขภาพจิต ค่าเฉลี่ย ๓.๙๐ บทบาทในการส่งเสริมสุขภาพจิตวิญญาณ ค่าเฉลี่ย ๓.๙๐ และบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพกาย ค่าเฉลี่ย ๓.๕๙

ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทวัดในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ๓.๗๖ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อันดับแรก ได้แก่ ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม ค่าเฉลี่ย ๓.๘๙ รองลงมาคือ ด้านงบประมาณ ค่าเฉลี่ย ๓.๗๔ด้านบุคลากร ค่าเฉลี่ย ๓.๗๓ และด้านวัสดุอุปกรณ์ ค่าเฉลี่ย ๓.๖๕

จากผลการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทของ วัดพระธาตุดอยสะเก็ดในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน พบว่า ปัจจัยทั้ง ๔ ด้าน คือ ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณมีความสัมพันธ์กับบทบาทของวัดพระธาตุดอยสะเก็ดในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน เรียงตามลำดับ คือ บทบาทในการส่งเสริมสุขภาพจิตวิญญาณ บทบาทในการส่งเสริมสุขภาพสังคม บทบาทในการส่งเสริมสุขภาพจิต และบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะ ควรจะมีการจัดกิจกรรมสุขภาพ ๔ ด้าน เพิ่มเติม เช่นด้านสุขภาพกายควรมีการรณรงค์ป้องกันโรคระบาด การจัดกิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อม การจัดทำโครงการแข่งขันการออกกำลังกาย การประกวดผู้มีสุขภาพดี การจัดสร้างสถานพยาบาลหรือห้องพยาบาลภายในวัดพระธาตุดอยสะเก็ด ด้านสุขภาพจิต ควรมีการจัดกิจกรรมสันทนาการสำหรับเยาวชน การจัดกิจกรรมความรักความผูกพันในครอบครัว การเทศนาธรรมที่มีเนื้อหาสาระสนุกสนาน ด้านสังคม ควรมีการจัดแหล่งเรียนรู้เรื่องการพัฒนาชุมชน การสร้างสวนสาธารณะเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ด้านสุขภาพจิตวิญญาณ ควรมีการจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรม การจัดกิจกรรมพระภิกษุเทศน์สอนตามบ้านในโอกาสสำคัญ

References

จิรานุช วงศ์อุทัย. บทบาทพระสงฆ์ในการสงเคราะห์ชุมชน ปัญหาโรคเอดส์ กรณีศึกษา พระครูโสภณปริยัติสุธี วัดดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์สาธารณสุข.ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิวา ธรรมอำนวยโชค. (2530). พุทธศาสนาและการรักษาพยาบาล: วิเคราะห์บทบาท พระสงฆ์ในการรักษาพยาบาลชาวบ้านใน เขตกรุงเทพมหานครและจังหวัด ใกล้เคียง. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระมหาธานี นันทสาร. (2540). บทบาทของพระสงฆ์กับการรักษา . กรณีศึกษาพระครูจันทคุณวัฒน์ วัดน้ำวน ตำบลบางเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระธนวรรธน์ วรรณลีย์. (2549). บทบาทพระสงฆ์ในการดำเนินงานเรื่องเอดส์ในชุมชน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระปองปรีดา ปริปุณฺโณ. (2545). การป้องกันและการรักษาโรคตามหลักพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2523). บทบาทพระสงฆ์ไทยที่เป็นหมอพระในด้านการบำบัดรักษาแก่ชุมชนรายงานการวิจัย. สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศศิธร เขมาภิรัตน์. (2548). การศึกษาเปรียบเทียบพุทธวิธีในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมกับการแพทย์แผนไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2543). ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย. ในเอกสารประกอบการสอนชุด มนุษย์กับสังคม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สีวลี ศิริไล. (2521). ศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยา และ เกณฑ์ตัดสินปัญหาจริยธรรมทางการแพทย์สมัยปัจจุบัน. รายงานการวิจัย. ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2541). วิวัฒนาการส่งเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ.

สมชาย สุรชาตรี. (2545). บทบาทของพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองของชาวชนบท: ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน. (2545). สิทธิ หน้าที่พลเมือง: ระบบสุขภาพ ภาคประชาชน. กรุงเทพมหานคร: เรดิเอชั่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17