ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องทุกข์ในพุทธปรัชญาเถรวาท กับแนวคิดทุกขนิยมของโชเป็นเฮาเออร์

ผู้แต่ง

  • พระสุพรชัย อานนฺโท

คำสำคัญ:

ศึกษาเปรียบเทียบ, ปรัชญา

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร  ซึ่งได้ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่อง  ìความทุกข์î  ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับแนวคิดทุกขนิยมของโชเป็นเฮาเออร์  โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน  และแนวคิดที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาวิจัย  มีดังนี้

ความทุกข์ตามพุทธปรัชญา  หมายถึง  ภาวะที่บีบคั้นและสภาพที่แย้งต่อความสุขที่เกิดขึ้นกับสรรพสิ่งด้วยการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า  สามารถแบ่งเป็น  ๒  ประเภท  คือ ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ  แสดงออกมา ๓ ลักษณะ  ได้แก่ลักษณะทนได้ยาก  มีลักษณะที่แปรปรวนตลอดเวลาไม่อยู่ในอำนาจที่จะควบคุมได้    มีลักษณะเป็นของปรุงแต่งและปรุงแต่งสิ่งอื่นพร้อมกันไปในตัว  ด้วยเหตุนี้พุทธปรัชญาจึงมีลักษณะเป็นสัจนิยม ไม่เป็นทุกขนิยม  โดยที่มีสาเหตุคือ  อวิชชา ก่อให้เกิดกามตัณหา  ภวตัณหา วิภวตัณหา  พุทธปรัชญาจึงได้เสนอวิธีการดับทุกข์ไว้อย่างครอบคลุม  คือเพื่อเข้าถึงโลกียสุข  ได้แก่ปัจจัยสี่  สัปปายะสี่ด้วยการควบคุมของศีล   ซึ่งเกี่ยวเนื่องเพื่อเข้าถึงโลกุตรสุข  ด้วยการปฏิบัติตามสมาธิและปัญญา  ซึ่งเป็นวิธีการดับทุกข์ทางใจ อันทำให้เกิดการปฏิบัติที่จะอยู่บนโลกได้อย่างมีความสุข  เหนือทุกข์และสุข  เข้าถึงบรมสุข  นิรามิสสุข  เพื่อตัดวงจรของสังสารวัฏ 

โชเป็นเฮาเออร์กล่าวว่า  ความทุกข์หมายถึง ชีวิตที่มีแต่ความขาดแคลน หรือความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง (unsatisfied will)  และความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วยังมีความอยากตามมาอีก ซึ่งก่อให้เกิดเป็นความทุกข์  ๒  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ  ความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจ แสดงให้ทุกข์เกิดขึ้น  ๓  ลักษณะ คือ  ลักษณะที่ดิ้นรน  ลักษณะเป็นความปรารถนาอันยังไม่สมหวัง  ลักษณะเศร้าซึมและเบื่อหน่ายวิตกกังวล  สิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ต่างๆ  มาจากเจตจำนง  ความเห็นแก่ตัว  และสมรรถภาพในการคิด  เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของบุคคล  จึงหาวิธีการปลดปล่อยเพื่อจะให้เกิดความสุขมาแทน  โชเป็นเฮาเออร์จึงกล่าวว่ามี  ๒  วิธี  ได้แก่  วิธีการดับทุกข์ทางกาย คือการดื่มด่ำหรือการเข้าอยู่ในความงามของศิลปะ  และวิธีการดับทุกข์ทางใจ คือการสละความต้องการทางโลก  เมื่อปฏิบัติตามก็จะเข้าถึงชีวิตที่เป็นสุข ปราศจากความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจ  อันเป็นการบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดอย่างแท้จริง

References

วิทย์ วิศทเวทย์. (๒๕๓๒). จริยศาสตร์เบื้องต้น: มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม.

จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี. (2527). บทความโชเป็นเฮาเออร์กับพุทธปรัชญา: นักปรัชญาตะวันตกกับพุทธปรัชญา. เชียงใหม่: ภาควิชาปรัชญา และศาสนาคณะมนุษย์ศาสตร์.

พรทิพย์ ชูศักดิ์. (2524). วิเคราะห์ความคิดเรื่องความทุกข์ของโชเป็นเฮาเออร์. วิทยานิพนธ์อักษร ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ประยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2535). พจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาไทย – อังกฤษ. อังกฤษ – ไทย. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (๒๕๔๗) พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Arthur Schopenhauer. (1970). Essays and Aphorisms,trans. R.J. Hollingdale. Great Britain : Hazell Watson & Viney Ltd.

Arthur Schopenhauer. (1964). The World as Will and Idea. vol l. Trans .R. B. Haldanc and J. Kemp. London : Rootledge & Kegan Paul Ltd.

Arthur Schopenhauer. (1964). The World as Will and Idea. vol l., Trans .R. B. Haldanc and J. Kemp. London : Rootledge & Kegan Paul Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17