การศึกษาวิเคราะห์คะลำอีสานเชิงพุทธจริยศาสตร์
คำสำคัญ:
การศึกษาวิเคราะห์, พุทธจริยศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของแนวคิดคะลำอีสาน ความหมายและประเภทของคะลำอย่างเป็นระบบ เพื่อวิเคราะห์ตีความคะลำอีสานในเชิงพุทธจริยศาสตร์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของแนวคิดคะลำอีสาน กับวิถีชีวิตสังคมอีสานสมัยปัจจุบัน
ผลการวิจัยพบว่า
คะลำอีสาน เป็นกฎกติกา หรือข้อห้ามทางสังคม ที่ใช้เป็นแนวปฏิบัติทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม ในการอยู่ร่วมกันในสังคมของชาวอีสานที่มีมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งนับเป็นภูมิปัญญาที่แยบยล โดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในการบัญญัติข้อห้ามมิให้บุคคลประพฤติปฏิบัติ เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม แบ่งประเภทของคะลำตามพฤติกรรมของบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม เป็นสามประเภท ได้แก่ คะลำทั่วไป คะลำเกี่ยวกับตนเอง และคะลำเกี่ยวกับผู้อื่น
เมื่อทำการวิเคราะห์ตีความ พบว่า คะลำอีสานทั้งสามประเภทมีพื้นฐานมาจากกรอบแนวคิดพุทธจริยศาสตร์แทบทั้งสิ้น แม้ว่าจะมีลักษณะการซ้อนทับของแนวคิดพุทธจริยศาสตร์หลายหลักการ และหลายระดับ แต่ก็พบว่าคะลำอีสานเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางจริยศาสตร์มาเป็นวาทกรรมเชิงปฏิบัติอย่างกลมกลืนสามารถนำมาใช้ในการอบรมสั่งสอนและย้ำเตือนข้อห้ามปฏิบัติต่อผู้คนในสังคม ช่วยให้สังคมของชาวอีสานดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุข
อิทธิพลของแนวคิดคะลำอีสาน กับวิถีชีวิตสังคมอีสานสมัยปัจจุบัน พบว่าครอบครัวในชนบทอีสาน ยังมีการใช้คะลำเป็นสื่อในการสั่งสอนลูกหลานอยู่ โดยคนในรุ่นพ่อแม่ และปู่ย่าตายาย แต่มีแนวโน้มจะมีจำนวนลดลงไปพอสมควร เนื่องจากถูกละเลยจากคนรุ่นใหม่ รวมทั้งสื่อที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาแทนที่ความสนใจของเด็กรุ่นใหม่ ทำให้แนวโน้มการธำรงอยู่ของภูมิปัญญารู้ท้องถิ่นนี้มีความเสี่ยงที่จะสูญหายไปพร้อมกับคนรุ่นเก่า
References
ชลิต ชัยครรชิต. (2549). สังคมและวัฒนธรรมอีสาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัย ประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชูศรี วงศ์รัตนะ (2549). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย : แนวทางสู่ความสำเร็จ กรุงเทพมหานคร: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซีฟ จำกัด.
โชติวุฒิ พลวิเศษ. (2545). การศึกษาตีความผญาเชิงจริยศาสตร์ที่ประยุกต์ใช้ในสังคมไทยในปัจจุบัน. มหาบัณฑิต สาขาปรัชญา: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2549). หลักและวิธีการประมวลเอกสาร เพื่อความเป็นเลิศใน การวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.
ทองคำ อ่อนมะนีสอน. (1997). วัดจะนานุกมพาสาลาว. เวียงจันทร์: กะซวงสึกสาทิกาน สะถาบันค้นคว้า วิทะยาสาดการสึกสา.
บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล และคณะ.(2545). พจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน (เว่าอีสาน). ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล และนภาพร พิมพ์วรเมธากุล. (2546). ฮีด-คอง-คะลำ.ขอนแก่น:คลังนานาวิทยา.
เบญจวรรณ นาราสัจจ์. (2551). ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาอีสาน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประยงค์ แสนบุราณ เทพพร มังธานี และภคนิตย์ เพชรปาณีวงศ์. (2548). การตีความผญาอีสานเชิงปรัชญา. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พรสวรรค์ สุวรรณศรี. (2547). การวิเคราะห์คุณค่า การดำรงอยู่ และการสืบทอดผญาอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระครูอภิรักษ์ชัยมงคล. (2549). การศึกษาผญาเชิงจริยธรรมที่พระฆงษ์ชาวอีสานนำไปใช้สอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสนามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทวินทร์ เทวินโท. แก่นพุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา. ม.ป.ป.
วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ทองกราว.
วิทย์ วิศทเวทย์. จริยศาสตร์เบื้องต้น : มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์ อจท.
วิทยากร เชียงกูล. (2551). ปรัชญาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สายธาร.
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสมหาเถระ). (2515). พจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลาง.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สัญญา สะสอง. (2544). แนวคิดเชิงปรัชญาในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน. มหาบัณฑิตสาขาปรัชญา : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2537). พจนานุกรมภาษาถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานครฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี. (2550). วัฒนธรรมพื้นถิ่นอีสาน. อุดรธานี: สำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี.
สำลี รักสุทธี. (2550). สืบสานตำนานงานบุญประเพณีอีสาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
สีน้ำ จันทร์เพ็ญ และคณะ. (2549). มูลมังดั้งเดิม. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
อดิศร เพียงเกษ. หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องบุญ-บาปที่ปรากฏในผญาอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสนามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อานนท์ กาญจนพันธ์. (2553). ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์อมรินทร์.
อุดม บัวศรี. (2540). ผญาก้อมปรัชญาชีวิตของชาวอีสาน. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
Edelglass, William and Garfield. Jay L. (2009) Buddhist Philosophy: Essential Readings. New York : Oxford University Press.
Keown, Damien. (2001). The Nature of Buddhist Ethics. New York: Palgrave. Stcherbatsky, Fedor Ippolitovich. Buddhist Logic.
New York: Dover. Thanissaro Bhikkhu. (2007). The Buddhist Monastic Code. California : Metta Forest Monastery.