ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับอิสรภาวะในการกระทำตามทัศนะ ของลัทธิเหตุวิสัยกับ พุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระสิรภพ มหายโส

คำสำคัญ:

ศึกษาแนวคิด, ปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับอิสรภาวะในการกระทำตามทัศนะของลัทธิเหตุวิสัยกับพุทธปรัชญาเถรวาท  โดยมีวัตถุประสงค์  คือ เพื่อศึกษาสารัตถะในการกระทำตามทัศนะของลัทธิเหตุวิสัยและพุทธปรัชญาเถรวาท  และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเหมือน  ความต่างเกี่ยวกับอิสระภาวะในการกระทำตามทัศนะของลัทธิเหตุวิสัยและพุทธปรัชญาเถรวาท   ซึ่งเป็นการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) โดยมีขั้นตอน คือ 1) รวบรวมและศึกษาข้อมูลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดอิสรภาวะในพฤติกรรมของมนุษย์ตามทัศนะของลัทธิเหตุวิสัยกับกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทจากแหล่งข้อมูลต่างๆ 2) ศึกษาทำความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลและทำการเปรียบเทียบ แนวความคิดทั้งสองตามกรอบที่กำหนด โดยมุ่งให้ตอบวัตถุประสงค์และปัญหาที่ต้องการทราบ 3) สรุปผล และข้อเสนอแนะ

จากการศึกษา พบว่า การกระทำตามตามทัศนะแนวคิดเหตุวิสัยตั้งอยู่พื้นฐานความเป็นเหตุเป็นผลทางรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย  โดยวิธีการคาดคะเนและการอนุมาน ที่เป็นกระบวนการของการทดทองลองบนฐานของประสาทสัมผัส จึงรู้และเข้าใจเฉพาะรูปธรรม ซึ่งเห็นว่า ทุกสิ่งล้วนมีเหตุเกิด ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นมาลอย ๆ  ทุกอย่างขาดความเป็นอิสระในตัวเอง อดีตผลักดันให้เกิดปัจจุบัน  ปัจจุบันผลักดันให้เกิดอนาคต  พฤติกรรมทุกอย่างล้วนตกอยู่ในอำนาจของสิ่งเร้า  ขาดความเป็นอิสระโดยสิ้นเชิง  ด้วยอิทธิพล แนวคิดทางเหตุวิสัยทำให้บุคคล  สังคม  เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย  โดยเฉพาะทางวัตถุ หรือความเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อ ความคิด  ที่ไม่อิงสิ่งลี้ลับ แต่กลับหันมาค้นหาความจริงด้วยการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีกระบวนการทางเหตุผลมากขึ้น  แต่ในทางเดียวกัน คุณค่าทางด้านศีลธรรมจริยธรรมกลับเริ่มหมดความสำคัญไปด้วย

การกระทำตามตามทัศนะแนวคิดพุทธปรัชญาเถรวาท มีความหมายที่กว้างกว่าลัทธิเหตุวิสัย ทั้งนี้เพราะพุทธปรัชญาเถรวาทมีความหมายคลุมไปถึงทั้งรูปธรรมและนามธรรม  ทั้งนี้เพราะพุทธปรัชญาเถรวาทเกิดขึ้นและตั้งอยู่บนรากฐานที่เกิดจากประสบการณ์ทั้งรูปธรรมและนามธรรม มองเห็นเหตุปัจจัยที่เกื้อหนุนอย่างสัมพันธ์นั่นเอง  ซึ่งมีขอบเขตไปถึงเหตุปัจจัยอื่นที่นอกเหนือจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่ทุกอย่างล้วนมีเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันเสมอ และยังกล่าวถึงวิธีการให้พ้นจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เพื่อเข้าสู้ ภาวะอิสระอย่างแท้จริง จากอิทธิพลของพุทธปรัชญาเถรวาท  ทำให้ความเชื่อ หลักการปฏิบัติที่บุคคลสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเองแล้วก็ยังให้ความสำคัญทางทางรูปธรรมและนามธรรม  กล่าวคือ ให้ทั้งทางส่วนภายนอก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนบุคคล  สังคมแล้วยังเน้นการพัฒนาภายในคือคุณค่าทางจิตเป็นสำคัญด้วย   

เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดทั้งสองจะเห็นว่า  ลัทธิเหตุวิสัยมุ่งต้องการเพื่อสนองความปรารถนาของบุคคล  สังคม  เป็นสำคัญ  ซึ่งยากที่จะคำนึงถึงคุณค่าที่แท้จริง  ส่วนพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น  มุ่งที่จะให้บุคคล  สังคมเข้าใจในความเป็นจริง  โดยให้ความสำคัญจากคุณค่าภายในเพื่อผลที่ออกมาสู่ภายนอก

References

กีรติ บุญเจือ. (2522). สารานุกรมปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2525). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิ.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539).  พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17