ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องเทวดาในคัมภีร์จักกวาฬทีปนี

ผู้แต่ง

  • พระจักรกฤษณ์ ธีรธมฺโม

คำสำคัญ:

ศึกษาวิเคราะห, เทวดาในคัมภีร์จักกวาฬทีปน

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์  ๓ ข้อ  คือ ๑.เพื่อศึกษาวิเคราะห์เทวดาในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒.เพื่อศึกษาวิเคราะห์เทวดาในคัมภีร์จักกวาฬทีปนี  และ ๓.เพื่อศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลเรื่องเทวดาที่มีต่อสังคมล้านนาไทย โดยศึกษาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท  และคัมภีร์จักกวาฬทีปนี 

ผลจากการวิจัยพบว่า  คัมภีร์จักกวาฬทีปนีได้ระบุถึงแนวความคิดกับเทวดา  ในลักษณะพรรณา  และได้รับอิทธิพลอย่างมากจากคัมภีร์อรรถกถา  ฎีกา  และปกรณ์วิเสสบางเล่ม  กล่าวถึงเทวดาตามนัยแห่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก  ผิดกันแต่ว่า  ในคัมภีร์จักกวาฬทีปนีนั้นค่อนค่างจะพิสดารมากกว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะ  ผู้แต่ง  พระสิริมังคลาจารย์มีจุดประสงค์เพื่อที่จะให้ผู้ศึกษาตามรับรู้  ความเพลิดเพลิน  ความสลดใจ  ของความเป็นเทวดา คัมภีร์จักกวาฬทีปนีได้กล่าวถึงเทวดาไว้เป็นลำดับๆจำนวนมากมาย  พระพุทธศาสนาให้การยอมรับว่า  เทวดามีอยู่จริง  เทวดาเป็นผู้วิเศษในตัว  คือ  มีกายทิพย์  มีรัศมีงดงาม  มีอายุยืน  มีอาหารทิพย์  และเป็นประชากรของสวรรค์เล่นสนุกสนานด้วยกามคุณ  ๕  และด้วยคุณวิเศษด้วยฌาน  และอภิญญาเป็นต้น  เทวดามาจากมนุษย์  คือ  มนุษย์มีพฤติกรรมสุจริตทางกาย  ทางวาจา  และทางใจ  ทำให้เกิดเป็นเทวดาได้  โดยปฏิบัติในหลัก  บุญกิริยาวัตถุ  ๓  บุญกิริยาวัตถุ  ๑๐  สัมปทา ๕ วัตตบท ๗ และหลักเทวธรรม  หลักปฏิบัติเหล่านี้  เป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติตามและดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท คือ ตายแล้วไปเกิดบนสวรรค์แต่ละชั้นตามบุญกุศลที่บำเพ็ญไว้

ในทางสังคมล้านนาไทย  มีความเชื่อของเทวดามากทีเดียว  มีอิทธิพลด้านวรรณกรรม  สถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  และพิธีกรรมซึ่งแสดงออกให้เห็นว่า  รูปแบบต่างๆทั้งที่เป็นเรื่องราว  และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทวดาที่ปรากฏตามสิ่งปลูกสร้าง  ตราสัญลักษณ์  สถานที่ และโดยเฉพาะในเรื่องจิตใจของคนในสังคมที่มีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นมีความผูกพัน  กับพระพุทธศาสนาตลอดมา  พร้อมกันนั้นก็คือ  ความเชื่อเรื่องเทวดา  บาป  บุญคุณโทษ  ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์  จึงทำให้สังคมล้านนาและสังคมไทยในปัจจุบันมีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนเอง  เพราะคติความเชื่อ  เรื่องเทวดาได้ก่อให้เกิดความเชื่อมโยง  ทางศีลธรรมระหว่าง  เทวดา  กับมนุษย์  ได้อย่างผสมกลมกลืนอย่างเหนียวแน่น  ฉะนั้น  คติความเชื่อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี  และวิถีชีวิตที่ดีงามของไทยที่สืบมาจากเทวดาอีกมากมาย  โดยเฉพาะการอาศัยทาง  คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา,จักกวาฬทีปนี  ที่กล่าวถึงเรื่องเทวดา  อันเป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดพิธีกรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งแก่สังคมไทยเราตลอดมา

References

ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (2529). เทวดานุกรมในวรรณคดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์ 860-862 วังพูรพา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). เรื่องเหนือสามัญวิสัย อิทธิปาฏิหาริย์เทวดา. กรุงเทพมหานคร : ธรรมดา.

พระสิริมังคลาจารย์. (2523). จักกวาฬทีปนี. หอสมุดแห่งชาติตรวจชำระเรียบเรียง. กรุงเทพมหานคร: เซ็นทรัลเอ็คเพรสการพิมพ์.

พระครูวินัยธรสุเทพ อกิญฺจโน (ทับทิมเทศ). (2539). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องเทวดาในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมจินต์สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์). (2551). “นรกและสวรรค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพิสิฐวิสิฏฺฐปณฺโญ (สืบนิสัย ). (2551). “การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในเทวตาสังยุต”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2532). พระธรรมปทัฏฐกถา แปล ภาค 7. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทนาลัย.

วิธาน สุชีวคุปต์. (2546). อภิปรัชญา Metaphysics py 434. คณะมนุษย์ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาลัยรามคำแหง.

สายสุวรรณ. (2533). เทวดาฝรั่งกรีก-โรมัน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-15