ศึกษาเปรียบเทียบเจตนาในพระพุทธศาสนา กับเจตนาในประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย
คำสำคัญ:
เจตนาในพระพุทธศาสนา, ประมวลกฎหมายอาญาบทคัดย่อ
บทความวิชาการ เรื่อง ìศึกษาเปรียบเทียบเจตนาในพระพุทธศาสนากับเจตนาในประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยî มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาเจตนาในทางพระพุทธศาสนา ศึกษาเจตนาในประมวลกฎหมายอาญา เปรียบเทียบเจตนาทั้งสองฝ่ายในประเด็นต่างๆ อาทิ องค์ประกอบที่ครบเจตนา,เกณฑ์ตัดสินเจตนาว่ามีความเหมือนหรือความแตกต่างกันอย่างไร
จากการศึกษาพบว่า เจตนาในทางพระพุทธศาสนากับเจตนาในประมวลกฎหมายอาญานั้นพบว่า มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน สิ่งที่มีความเหมือนกันอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ การมีเจตนาเป็นองค์ประกอบในการกระทำความผิดกล่าวคือ ในการกระทำความผิดของบุคคลในแต่ละครั้งจะต้องมีเจตนาเป็นองค์ประกอบภายในที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกก่อนที่จะพิจารณาในส่วนอื่นๆ ต่อไป สำหรับความแตกต่างพบว่าเจตนาในทางพระพุทธศาสนาจะพิจารณาการกระทำความผิด หรือถือว่าผิด และเป็นการกระทำที่ครบเจตนาแล้วคือจะพิจารณาถึงเจตนาที่ปรากฏออกมา ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ แม้กระทั่งว่าผู้ใดมีเจตนา และได้กระทำกรรมที่ปรากฏทางใจก็ถือว่าเกิดเป็นกรรมแล้ว แต่ในทางประมวลกฎหมายอาญานั้นถึงแม้ว่าจะมีเจตนาแต่การที่จะพิสูจน์ว่าบุคคลใดครบองค์ประกอบในการกระทำความผิดหรือไม่จะพิจารณาได้แค่ทางกาย และวาจาเท่านั้น สำหรับทางใจ ถึงแม้บุคคลนั้นจะมีเจตนาแต่ก็ไม่สามารถพิจารณาลงโทษบุคคลนั้นได้เพราะทางประมวลกฎหมายอาญาถือว่าอยู่แค่ในขั้นคิดยังไม่ได้ลงมือกระทำความผิดที่จะเข้าองค์ประกอบของการกระทำความผิดจึงยังไม่สามารถ กำหนดโทษ และลงโทษบุคคลผู้นั้นได้ ก
สรุปว่า เจตนาไม่ว่าจะในทางพระพุทธศาสนาหรือในทางกฎหมายก็ตาม เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะการกระทำต่างๆไม่ว่าจะออกมาในลักษณะ หรือรูปแบบใดประเด็นสำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวกำหนดเกณฑ์ในการตัดสินหรือดำเนินการใดๆ จะต้องพิจารณาจากเจตนาเป็นเบื้องต้นทั้งสิ้น ดังนั้นการศึกษาเปรียบเทียบเจตนาในพระพุทธศาสนา และเจตนาในประมวลกฎหมายอาญาจึงเป็นประโยชน์แก่ นักกฎหมาย นักการศึกษา นักการศาสนา ซึ่งจะเข้าใจหลักต่างๆ ในเรื่องเจตนาได้อย่างชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักกฎหมายจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพิจารณาประกอบการวินิจฉัย ลงโทษ ผู้กระทำผิดด้วยความยุติธรรมอย่างแท้จริง
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์ และเผ่าพันธุ์ ชอบน้ำตาล. (2541). ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายแพ่ง. กรุงเทพมหานคร : เจริญรัฐการพิมพ์.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2551). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
ศุภวรรณ พิพัฒพรรณวงศ์ กรีน. (2551). คู่มือชีวิต ภาคกฎแห่งกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์บุ๊ค เซนเตอร์ จำกัด.