การส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันของเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นิลุบล เบ็ญจกุล

คำสำคัญ:

การส่งเสริมพฤติกรรม, การแปงฟันของเด็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันของเด็กก่อนวัยเรียน  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่กลุ่มตัวอย่าง  คือ  เด็กก่อนวัยเรียน เรียน อายุ 3 - 5 ปี ที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใน 2 ศูนย์ คือ เด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านม่วงฆ้อง เป็นกลุ่มทดลอง  ซึ่งกลุ่มนี้จะรับโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพฟันของเด็กก่อนวัยเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งละคร เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพฟันของเด็กก่อนวัยเรียน โดยทั้งสองกลุ่มเลือกมาจำนวนศูนย์ละ 30 คน  การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพฟัน แบบสังเกตพฤติกรรมการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพฟันและแบบบันทึกการตรวจปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟัน การเก็บข้อมูลก่อนและหลังการจัดโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพฟัน มีการจัดกิจกรรม 8 สัปดาห์  เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้ว ที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS คำนวณค่าต่างๆของสถิติเชิงปริมาณ ดังนี้คือ ข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพฟันโดยทั่วไป จากแบบสัมภาษณ์ ใช้ค่าสถิติร้อยละ การวิเคราะห์เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัว  ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟัน ใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเมื่อเปรียบเทียบ ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัวและปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันของเด็กก่อนวัยเรียนกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างเดียวกันและเปรียบเทียบผลหลังการทดลองของเด็กก่อนวัยเรียนกลุ่มตัวอย่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ใช้สถิติ t-test 

ผลการวิจัยพบว่า

1. โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟัน  โดยใช้กิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ PRECEDE Fremework ทำให้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัว ที่ดีขึ้น และปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันไม่เพิ่มมากขึ้น  ส่งผลให้มีพฤติกรรมการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพฟันที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม

2. ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันใน ๘ สัปดาห์

2.1 คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองภายหลังการส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพฟัน ดีกว่าก่อนการทดลองในเรื่องความรู้ ทัศนคติการปฏิบัติตัว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ คือ ปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันไม่ได้เพิ่มมากขึ้นจากก่อนการทดลอง

2.2 คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองภายหลังการส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพฟัน ดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบในเรื่องความรู้ทัศนคติการปฏิบัติตัวปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

References

กองทันตสาธารณสุข. (2551). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ระดับ ประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย.

ชลีกุล วงษ์ถาวร. (2548). โปรแกรมสุขศึกษาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทันตสุขภาพ ของเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต พฤติกรรมศาสตร์และการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุ่งนภา สนิทรัมย์. (๒๕๕๔). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตการ ส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.

สุพรรณิกา อุบลบาน. (2553). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการ แปรงฟันของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-5 อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อภินันท์ บุญศรี. (2548). ผลของชุดการฝึกแปรงฟันตามเทคนิคการแต่งพฤติกรรมที่มี ต่อการแปรงฟันของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน เกียรติคุณวิทยา จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ศึกษามหา บัณฑิต จิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-15