กระบวนการมีส่วนร่วมด้านการดูแลสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้สารเคมี ในชุมชนบ้านห้วยบง ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • นวพล บัวธนะ

คำสำคัญ:

การรับรู้พฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพ, เกษตรอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมด้านการดูแลสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีในชุมชนบ้านห้วยบง ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการ AIC ที่มีผลต่อการรับรู้พฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และ แบบสอบถาม 1) การรับรู้ความอันตรายจากสารเคมี  2) การรับรู้ความรุนแรงจากสารเคมี 3) การรับรู้ประโยชน์ของการทำเกษตรอินทรีย์ 4) การรับรู้อุปสรรคของการทำเกษตรอินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้ Paired Sample t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. กระบวนการมีส่วนร่วม โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการAIC เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เกษตรกรมีความเข้าใจถึงปัญหา สามารถกำหนดเป้าหมายร่วมกัน นำเป้าหมายมาคิดหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ค้นหาแผนงานกิจกรรมที่เป็นความคิดเห็นของเกษตรกรโดยคำนึงถึงความสำเร็จ โดยการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการปลูกพืชผักสวนครัวโดยใช้เกษตรอินทรีย์ และทำการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการทำงานเพื่อให้แผนงานกิจกรรมมีผู้รับผิดชอบ  ประสานงานร่วมกับชุมชน และภาครัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการปลูกพืชผักสวนครัวโดยใช้เกษตรอินทรีย์ในการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการเกษตร ซึ่งมี 2 แผนงานกิจกรรม คือโครงการปลูกผักข้างรั้วและ โครงการกลุ่มเกษตรกรทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพของชุมชนบ้านห้วยบง การประยุกต์ใช้กระบวนการ AIC เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตั้งแต่แรกเริ่ม ได้แสดงความคิดเห็น และหาทางแก้ไขร่วมกัน ดังนั้นการมีส่วนร่วมจะทำให้เกษตรกรมีความรู้สึกภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานกิจกรรม มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ แผนงานที่ทำ จึงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

2. ศึกษาผลของการจัดกระบวนการมีส่วนร่วม โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการ AICภายหลังการดำเนินการ ๘ สัปดาห์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่า

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการรับรู้อันตรายจากสารเคมี ก่อนและหลังเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วม ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ก่อนเข้าร่วมกระบวนการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.71 หลังเข้าร่วมกระบวนการมีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.90 หลังเข้าสู่กระบวนการกลุ่มตัวอย่างมีระดับค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความอันตรายจากสารเคมีมากกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กนกรัตน์ ทิพนี. (2552). กระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชนบ้านวังธาร อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กาญจนภัสส์ ทวีกิตติกร. (2552). กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกรที่ปลูกพืชหมุนเวียนบ้านสันโป่ง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกศมณี มูลปานันท์. (2548). การส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกร ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เจษฎา งามประภาสม. (2551). ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ของเกษตรกร บ้านม่วงป๊อก อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชนัญธวีร์ ฐิตวัฒนานนท์. (2552). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการ AIC : กรณีศึกษาชุมชนในตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ทองเพ็ญ ปาละก้อน. (2547). ศึกษาเรื่องการประเมินผลกระทบสุขภาพเบื้องต้นของ เกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในสวนลำไย ตำบลวังผาง กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหา บัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิโรตม์ พรหมวิหาร. (2551). กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-07-15