การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและกระบวนการกลุ่มเพื่อสร้าง สุขภาวะทางสังคมให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรีนรู้, กระบวนการกลุ่มบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างสุขภาวะทางสังคมในนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ประกอบด้วยนักเรียน ชนเผ่าเมี่ยน ชนเผ่าลัวะ ชนเผ่าม้ง และชนพื้นเมือง จำนวน 25 คน โดยประยุกต์ใช้กระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านวงจร 4 องค์ประกอบของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ คือ 1) ขั้นประสบการณ์ตรง 2) ขั้นการสะท้อนและอภิปราย 3) ขั้นคิดรวบยอด 4) ขั้นทดลอง/การประยุกต์แนวคิด จำนวน 4 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม
การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและกระบวนการกลุ่มในการสร้างสุขภาวะทางสังคมให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยการใช้กระบวนกลุ่มและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผ่านวงจร 4 องค์ประกอบของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ผลการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้ 1) นักเรียนมีทัศคติทางบวกต่อการอยู่ร่วมกันเพิ่มขึ้น และสามารถปฏิบัติได้มีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ชื่นชมกัน ทำเกิดความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น 2) นักเรียนมีความพึงพอใจทำกิจกรรมกลุ่มด้วยความสุข สนุกสนานและตั้งใจทำงานด้วยความสามัคคีกันเพิ่มขึ้นและส่งเสริมความเข้าใจกันระหว่างเพื่อนแต่ละคนแต่ละชนเผ่ามากขึ้น 3) การปรับตัวเข้ากับเพื่อน สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ด้วยความสุข ประยุกต์ใช้ในการอยู่ร่วมกันของแต่ละชนเผ่าด้วยความเข้าใจกันเพิ่มขึ้น 4) นักเรียนมีการช่วยเหลือเอื้ออาทรกันในสังคมเพิ่มขึ้น โดยมีการแบ่งปันสิ่งของให้กัน พูดจากันด้วยความไพเราะอ่อนหวาน เกิดความอบอุ่นเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน
References
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2550). วัฒนธรรม สุขภาพ กับการเยียวยา: แนวคิดทางสังคมและมานุษยวิทยาการแพทย์. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.).
เติมศักดิ์ คทวณิช. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นิภา แก้วศรีงาม. (2547). ความคิดเชิงบวก. วารสารวงการครู. 1 (12), 76-78.
นิ่มอนงค์ งามประภาสม. (2543). หลักการสุขศึกษา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พล แสงสว่าง. (2545). กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนา. ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนวคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). จิตวิทยาการปรับตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย วัยรุ่น-วัยสูงอายุ เล่ม 2. พิมพ์ครั้ง 8. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.